SDG17
Partnership for the Goals : Summary of all LPRU SDGs
Major Projects with direct involvement in or input into national government/regional non-government organisations for SDG policy development
In the year 2022, LPRU has run two major projects related to SDGs which was jointly conducted with several partners from government sectors such as several offices under the MHESI, the Social Development and Human Security Office of Lampang, Lampang Public Health Office and Provincial Labour Office; private/NGOs sectors, educational institutions; local administrative organizations and local communities in Lampang and Lamphun provinces. 1) The research project named “Development and Expansion of Localized Support Systems to Address Persistent and Precise Solutions to Poverty Issues in the Province of Lampang, or the “Poverty Alleviation Model of Lampang” 2) The U2T for BCG campaign on 93 Tambons (subdistricts) in Lampang and Lamphun provinces.
Summary of the “Poverty Alleviation Model of Lampang”
ในปีงบประมาณ 2565 มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางได้ดำเนินโครงการ มีชื่อโครงการว่า “การพัฒนาและขยายระบบการสนับสนุนการทำงานเชิงพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ พื้นที่จังหวัดลำปาง” ซึ่งเป็นโครงการที่ดำเนินการต่อเนื่องมาตั้งแต่ปีงบประมาณ 2564 จนถึงปัจจุบันคือปีงบประมาณ 2566 ที่เรียกสั้นๆว่า โครงการลำปางแก้จน หรือ โมเดลแก้จนลำปาง
ซึ่งเป็นโครงการที่มีความร่วมมือกับหน่วยงาน หน่วยงานภาคีความร่วมมือประกอบด้วย มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ วิทยาลัยอินเตอร์เทค ลำปาง วิทยาลัยเทคนิคลำปาง วิทยาลัยเทคนิคกฟผ.แม่เมาะ สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดลำปาง สำนักงานจังหวัดลำปาง องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดลำปาง สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดลำปาง สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดลำปาง สำนักงานเกษตรจังหวัดลำปาง สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดลำปาง สำนักงานพาณิชย์จังหวัดลำปาง สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 3 (ลำปาง) สำนักงานประมงจังหวัดลำปาง สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดลำปาง สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) แม่เมาะ และบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (ลำปาง) จำกัด โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัด และปลัดจังหวัดลำปางเป็นที่ปรึกษา ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ โดยหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) กระทรวง อว.
โครงการมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อ
- ค้นหา สอบทาน และสำรวจทุนคนจน และครัวเรือนยากจนให้ครอบคลุมทั้งหวัดลำปาง
- การนำเข้าข้อมูลคนจนสู่ระบบ จำแนก (Classify) ประเภทคนจน รวมถึงการนำออกคนจนที่ได้รับการช่วยเหลือแล้วออกจากระบบ (Add on and Exit)
- การพัฒนาโมเดลแก้จน (Operating Model) ระดับพื้นที่ที่เหมาะสมกับศักยภาพของคนจนเป้าหมายและสอดคล้องกับบริบทของพื้นที่
- การจัดทำ Poverty Forum เพื่อเป็นเครื่องมือในการประสานงานส่งต่อความช่วยเหลือและสร้างยุทธศาสตร์แก้ไขปัญหาความยากจนของพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรม
- จัดทำยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาความยากจนระดับพื้นที่ที่เชื่อมโยงกับแผนยุทธศาสตร์ท้องถิ่น ตำบล อำเภอ/หรือแผนจังหวัด
https://news.lpru.ac.th/lprunewshomnol14062566-1/
Summary of the U2T for BCG Campaign
โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG
มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ได้ดำเนินกิจกรรมส่งเสริมและผลักดันสินค้าและบริการออกสู่การตลาดผ่านช่องทางการจัดจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้ให้กับตำบลที่เข้าร่วมโครงการ ด้วยความร่วมมือกับทั้งภาครัฐบาล กระทรวง อว. หน่วยงานในชุมชนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมโดยเฉพาะคนในชุมชน โดยกระบวนการประกอบด้วยการศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการที่แท้จริงของชุมชน การถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยีและน้อมนำแนวพระราชดำริสู่การปฏับัติ รวมทั้งการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับทุกภาคส่วนเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและเสริมสร้างความเข้มแข็งของผู้นำชุมชนให้มีคุณธรรมและความสามารถในการบริหารงานเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวม
Co-Hosting International Conference/Lectures on SDG
Co-Hosting the 4th ICRU International Conference on World Sustainable Development
LPRU has worked with 6 Rajabhat Universities and 3 international institutions to cohost the annual ICRU International Conference on World Sustainable Development since 2019. This allows academics and researchers to discuss and share their knowledge, research findings and experiences in the three areas of sustainable development, that is the economic, social, and environmental factors, as well as to build strong partnership and networks that will support future collaboration. Executives, faculty members and researchers of LPRU have participated and presented their research papers in the conference every year. In 2022, LPRU joined as a co-host of the 4th ICRU International Conference on World Sustainable Development (WAD 2022) on 15th-16th August 2022. LPRU also joined in online conferences/seminars/workshops/lectures on SDGs with foreign partners.
Website : https://icru.nsru.ac.th/, https://icru.nsru.ac.th/Mode=main/Id=2, https://icru.nsru.ac.th/Mode=main/Id=23
International Speeches/Lectures/Workshops
เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2566 อ.อัจฉริยา ครุธาโรจน์ ผู้ช่วยอธิการบดีด้านวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง พร้อมด้วยผศ.ดร.บัณศิกาญจ ตั้งภากรณ์ รองผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นตัวแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง เข้าร่วมงานประชุมสัมมนาวิชาการ “The 6th Kunming Forum on Education Cooperation in South and Southeast Asia – The Cooperation and Exchange Forum of Lancang-Mekong Open Education” ภายใต้แนวคิด “Sharing Open Education for Lifelong Ubiquitous Learning” ณ นครคุนหมิง มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน ตามคำเชิญของมหาวิทยาลัยเครือข่าย คือมหาวิทยาลัยเปิดยูนนาน (Yunnan Open University) ซึ่งการจัดงานมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนาศักยภาพทางการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ ตามที่องค์การสหประชาชาติได้ตั้งเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน มุ่งเน้นไปที่ความร่วมมือทางวิชาการระหว่างประเทศและการศึกษาระดับอุดมศึกษา เพื่อแบ่งปันแนวคิดที่หลากหลาย ภายใต้บริบทของ Big Data และการศึกษารูปแบบใหม่ ที่เป็นการเรียนรู้ได้จากทุกหนทุกแห่งเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต อีกทั้งเป็นการพัฒนากลไกความร่วมมือและขยายเวทีการศึกษาในอนุภูมิภาคล้านช้าง – แม่โขง โดย อ.อัจฉริยา ครุธาโรจน์ ได้รับเชิญให้กล่าว Keynote Speech ในหัวข้อ “Strengthening Lancang – Mekong Education Cooperation for Sustainable Development” และร่วมอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและตอบข้อซักถาม ในหัวข้อ “The New Mechanism of Lancang – Mekong Education Cooperation”
เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2566 อาจารย์อัจฉริยา ครุธาโรจน์ ผู้ช่วยอธิการบดีด้านวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ได้รับเชิญให้เข้าร่วมเป็นหนึ่งในวิทยากรบรรยายพิเศษ ในหัวข้อ “Greening the Schools and Empowering the Future Teachers : A Path Towards Sustainable Communities” ในกิจกรรม the 4th Nenita Caralipio Honorary Lecture (NCHL) Online โดย College of Education University of Santo Tomas (UST) ประเทศฟิลิปปินส์ โดยการจัดกิจกรรมเป็นส่วนหนึ่งของการเฉลิมฉลองการก่อตั้ง College of Education UST ครบรอบ 97 ปี และเนื่องในวันคุ้มครองโลกประจำปี 2566 (Earth Day 2023) โดยเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงาน นำเสนอผลงานและข้อมูลของมหาวิทยาลัย ในด้านการจัดการศึกษาโดยเฉพาะด้านที่เกี่ยวกับการผลิตครูกับการพัฒนาที่ยั่งยืน ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ เป้าหมายที่ 4 การศึกษาที่มีคุณภาพ และเป้าหมายที่ 11 เมืองและถิ่นฐานที่ยั่งยืน นอกจากนี้ การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ยังเป็นการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกัน ตามเป้าหมายที่ 17 ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนด้วย โดยมีนักศึกษาฝึกสอนของ University of Santo Tomas จากหลักสูตรการประถมศึกษา (Bachelor of Elementary Education) หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย (Bachelor of Early Childhood Education) และหลักสูตรการศึกษาพิเศษระดับปฐมวัย (Bachelor of Special Needs Education Major in Early Childhood Education) รวมถึงอาจารย์และครูจากสถาบันเครือข่ายของ University of Santo Tomas ของร่วมกิจกรรมผ่านระบบออนไลน์ (https://news.lpru.ac.th/lprunews-25-04-66-tong-2/)
เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2565 รศ.ดร.ศิริกร อิ่นคำ อาจารย์ประจำสาขาวิชาศิลปะและการออกแบบ และ รศ.พรสวรรค์ มณีทอง อาจารย์ประจำสาขาวิชาดนตรี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ได้รับเชิญเป็นวิทยากรรับเชิญ (Invited Speaker) ในงาน International Conference on Religion, Education and Arts ภายใต้แนวคิด Religion, Education, and Arts in Digital Era ซึ่ง State Christian Institute of Ambon (IAKN Ambon) สาธารณรัฐอินโดนีเซีย เป็นเจ้าภาพจัดขึ้นในรูปแบบ Onsite และ Online ร่วมกับมหาวิทยาลัยเครือข่ายในหลายประเทศ ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางเป็นเจ้าภาพร่วมด้วย ในระหว่างวันที่ 24-25 พฤศจิกายน 2565 โดยบรรยายและนำเสนอผลงานโครงการวิจัยและบริการวิชาการ ด้านดนตรี ศิลปะและการออกแบบสำหรับผู้สูงอายุ และยังได้มีโอกาสหารือเกี่ยวกับแนวทางการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนระหว่างอาจารย์และนักศึกษา รวมถึงความร่วมมือในการจัดบริการวิชาการร่วมกันระหว่างสาขาวิชาของทั้งสองสถาบันในอนาคต ในการนี้ อาจารย์อัจฉริยา ครุธาโรจน์ ผู้ช่วยอธิการบดีด้านวิเทศสัมพันธ์ และ ผศ.ดร.ฤทัย พานิช อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เข้าร่วมงานสัมมนาในครั้งนี้ด้วย (https://news.lpru.ac.th/%e0%b8%ad%e0%b8%b2%e0%b8%88%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%a2%e0%b9%8c-%e0%b8%a1-%e0%b8%a3%e0%b8%b2%e0%b8%8a%e0%b8%a0%e0%b8%b1%e0%b8%8f%e0%b8%a5%e0%b8%b3%e0%b8%9b%e0%b8%b2%e0%b8%87-%e0%b9%84%e0%b8%94/)
Education for SDGs
The projects/activities/progress related to SDGs by LPRU has been published on LPRU SDGs website and also included in the LPRU Annual Report 2022 which has been published on the LPRU SDG website and the website of the Division of Policy and Planning of Lampang Rajabhat University.
There are both required and elective courses in the General Education group (update version 2021) for all bachelor degree students that address sustainability developments and relate to sustainable ways of life, such as:
- Agricultural Innovation for Life-quality Development
- Modern Alternative Energy
- Circular Economy Lifestyle for the 21st Century
- Active Citizenship and Anti-Corruption
- Thai Civilization and Global Citizen
- Social Engineer Skills
- Holistic Science in Household Maintenance by Sufficiency Approaches
A bachelor’s degree program called "Bachelor of Arts Program in Community Development" (หลักสูตรปริญญาตรี สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน) that provide courses relating to local community development. The philosophy of the community development curriculum is to focus on creating graduates who believe in human potential to be able to sustainably develop and improve quality of life of local community. There are courses in this program specifically focus on SDGs such as “Sustainable Development”, “Community Resources Management for Self-Reliance” and “Strategic Program Planning and Development”.
A master degree program called “Master of Art Program in Sustainable Organizational Management and Development Strategy” (หลักสูตรระดับปริญญาโท ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การบริหารและพัฒนาองค์กรที่ยั่งยืน) has been created and started the first batch in June 2023.
Outreach Educational Activities for SDGs
LPRU regularly provides many free training courses/activities for all interested people (including alumni, local residents and displaced people) as well as provide many outreach academic service activities for local communities by all Faculties/Offices/Centres on various subjects with aims to provide life-long education and skill development opportunities for everybody. Academic Services is one of the university’s missions to support the university’s vision aiming to be “An Intellectual Learning Organization for Local Sustainable Development”. Onsite activities include both on-campus and at the communities, online trainings include live meetings/lectures/trainings and available as VDO on Facebook and YouTube that can be watched and learned by anyone later. LPRU has set up the SEP Park as a center for learning/training about Sufficient Economy Philosophy (SEP) and SDG. LPRU SDG and SEP’s website also provides information/knowledge about SDG and SEP for publics.
Website:
https://sdgs.lpru.ac.th/academic-services-for-sdgs/
https://sdgs.lpru.ac.th/facilities-services/