โครงการแก้จน

SDG 1,2,3,8,10,17

Research Project 2022 : Development and Expansion of Localized Support Systems to Address Persiistent and Precise Solutions to Poverty Issues in the Province of Lampang or the “Poverty Alleviation Model of Lampang”

มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ดำเนินโครงการแก้จน ซึ่งเป็นโครงการต่อเนื่อง โดยในปีงบประมาณ 2564 มีชื่อโครงการว่า “การพัฒนาระบบสนับสนุนการทำงานเชิงพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ พื้นที่จังหวัดลำปาง”

โครงการในปีงบประมาณ 2565 มีชื่อโครงการว่า “การพัฒนาและขยายระบบการสนับสนุนการทำงานเชิงพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ พื้นที่จังหวัดลำปาง”

วัตถุประสงค์ของโครงการ

  1. ค้นหา สอบทาน และสำรวจทุนคนจน และครัวเรือนยากจนให้ครอบคลุมทั้งหวัดลำปาง
  2. การนำเข้าข้อมูลคนจนสู่ระบบ จำแนก (Classify) ประเภทคนจน รวมถึงการนำออกคนจนที่ได้รับการช่วยเหลือแล้วออกจากระบบ (Add on and Exit)
  3. การพัฒนาโมเดลแก้จน (Operating Model) ระดับพื้นที่ที่เหมาะสมกับศักยภาพของคนจนเป้าหมายและสอดคล้องกับบริบทของพื้นที่
  4. การจัดทำ Poverty Forum เพื่อเป็นเครื่องมือในการประสานงานส่งต่อความช่วยเหลือและสร้างยุทธศาสตร์แก้ไขปัญหาความยากจนของพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรม
  5. จัดทำยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาความยากจนระดับพื้นที่ที่เชื่อมโยงกับแผนยุทธศาสตร์ท้องถิ่น ตำบล อำเภอ/หรือแผนจังหวัด

โครงการในปีงบประมาณ 2566 มีชื่อชุดโครงการวิจัยว่า “การพัฒนาและสนับสนุนพื้นที่วิจัยเชิงยุทธศาสตร์ เพื่อขจัดความยากจนและสร้างโอกาสทางสังคม พื้นที่จังหวัดลำปาง”ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ โดยหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) เป็นโครงการฯต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ชุดโครงการดังกล่าวประกอบด้วย 4 โครงการวิจัยย่อย ได้แก่

1) โครงการ การพัฒนา และต่อยอดโมเดลแก้จน เพื่อยกระดับศักยภาพ อาชีพ โอกาส และรายได้ของกลุ่มเป้าหมายที่ยากจน พื้นที่อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง

2) โครงการ การขับเคลื่อนการขจัดความยากจนเชิงบูรณาการ โดยใช้ต้นทุน ศักยภาพ เทคโนโลยี นวัตกรรม ที่เหมาะสมในพื้นที่ เป็นฐานในการพัฒนา พื้นที่อำเภองาว และอำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง

3) โครงการ การพัฒนาโมเดลแก้จน: การยกระดับคุณภาพชีวิตเพื่อขจัดความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ เพิ่มโอกาสการเข้าถึงอาชีพ องค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้วยวิถีชุมชนคนแจ้ห่ม อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง 4) โครงการการแก้ไขปัญหาความยากจน โดยใช้องค์ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรม บนฐานการบูรณาการกับภาคี เครือข่าย พื้นที่อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง

ชุดโครงการวิจัยฯนี้ มุ่งเน้นเอาข้อมูล”คนจนเป้าหมาย” ที่ได้จากการค้นหาและสอบทานในปีที่ 1 (พ.ศ. 2564-2565 และปีที่ 2 (พ.ศ. 2565-2566) ทั้ง 13 อำเภอในจังหวัดลำปางมา พัฒนายกระดับ ทักษะอาชีพเพื่อสร้างรายได้ ด้วยนวัตกรรม และเทคโนโลยี

โดยแบ่งโมเดลแก้จน ออกเป็น 3 โมเดลหลักๆได้แก่

  1. ) โมเดลแก้จน “เสริม”: กิจกรรมส่งเสริมการลดรายจ่าย สำหรับคนจนที่อยู่ “กลุ่มอยู่ลำบาก”และ“กลุ่มที่อยู่ยาก”
  2. ) โมเดลแก้จน “รอง” : กิจกรรมส่งเสริมการลดรายจ่าย เสริมรายได้ สำหรับคนจนที่อยู่ใน “กลุ่มอยู่พอได้”
  3. ) โมเดลแก้จน “หลัก” : กิจกรรมส่งเสริมการลดรายจ่าย สร้างรายได้ สำหรับคนจนที่อยู่ใน “กลุ่มอยู่ดี”

อ่านรายงานผลการวิจัย งบประมาณ 2564 สรุป ได้ที่นี่:  https://pmua.or.th/research/a14f640087/ และ https://sdgs.lpru.ac.th/solvepoverty/

ดูภาพข่าวกิจกรรมของโครงการได้ที่นี่:

https://web.facebook.com/LampangPovertyAlleviation?locale=th_TH

ข่าวความเคลื่อนไหวอื่นๆ ของโครงการ ที่นี่:

https://news.lpru.ac.th/lprunewshomnol27042566-2/

https://district.cdd.go.th/muanglampang/2023/01/24/%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%93%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%82%E0%B8%B1/

https://news.lpru.ac.th/rl_gallery/%E0%B8%A1%E0%B8%A3-%E0%B8%A5%E0%B8%9B-%E0%B8%99%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A7/

https://news.lpru.ac.th/lprunewsprhom181066-1/

https://news.lpru.ac.th/lprunewshomnol14062566-1/

https://www.chiangmainews.co.th/news/2989334/

1
2

บทคัดย่อ

          โครงการวิจัย การพัฒนาและขยายระบบการสนับสนุนการทำงานเชิงพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ พื้นที่จังหวัดลำปาง ปีที่ 2 (พ.ศ.2565-2566) มีผลการวิจัยดังนี้

          ผลดำเนินงานรอบ 12 เดือน ตามวัตถุประสงค์หลัก ๆ 5  หัวข้อ มีดังนี้ 1) การค้นหา และ
สอบทานคนจนกลุ่มเป้าหมายที่กระจายอยู่ในพื้นที่จังหวัดลำปาง
ในพื้นที่ 7 อำเภอในจังหวัดลำปาง ประกอบด้วยอำเภอสบปราบ อำเภอแม่พริก อำเภอเสริมงาม อำเภอเกาะคา อำเภอแม่ทะ อำเภอ
วังเหนือ และอำเภอแจ้ห่ม ครอบคลุม 46 ตำบล ใช้รายชื่อครัวเรือนยากจนในระบบ TPMAP ปี 2565
ซึ่งมีจำนวนตัวเลข 3,585 ครัวเรือน จัดตั้งคณะทำงาน ฝ่ายค้นหา สอบทานข้อมูล และสังเคราะห์ข้อมูลมีการประชุมเดือนละ 2 ครั้ง มีการชี้แจง และสร้างการรับรู้ระดับอำเภอ ระดับตำบล ดำเนินงานเชิงบูรณาการ 2) การสังเคราะห์ ประมวลผล แสดงผล การนำเข้าระบบ และการส่งต่อข้อมูล พบว่า จากจำนวนครัวเรือนในระบบ TPMAP 3,585 ครัวเรือน ดำเนินการสำรวจจำนวน 2,287 ครัวเรือน แบ่งเป็นครัวเรือนในระบบ TPMAP จำนวน 1,130 ครัวเรือน และครัวเรือนยากจนเพิ่มเติม/ตกหล่นจำนวน 1,157 ครัวเรือน 3) การพัฒนาโมเดล /รูปแบบการแก้ไขปัญหาความจากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำในพื้นที่นำร่องในจังหวัดลำปาง เป็นการแก้ไขปัญหาความยากจนด้วย โครงการนำร่อง ” โมเดลแก้จน” สามประเด็น คือ ประเด็นสมุนไพร ประเด็นป่าชุมชน และประเด็น Quick Win ในพื้นที่นำร่องอำเภอเถิน ประกอบด้วย ตำบลแม่มอก ตำบลแม่ปะ ตำบลนาโป่ง และตำบลเถินบุรี ผลการดำเนินงานในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา สรุปได้ดังนี้

          Operating Model ประเด็นสมุนไพร ภายใต้ โครงการ การพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าสมุนไพร
แม่มอกเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนพื้นที่อำเภอเถินจังหวัดลำปาง
ผลการดำเนินงานมีดังนี้ กิจกรรม  ต้นน้ำ ด้วยการวางแผนเชิงกลยุทธ์ 4 ด้านที่มุ่งการขยายตลาดผลิตภัณฑ์ การพัฒนาองค์กร การสร้างมูลค่าผลิตภัณฑ์ใหม่ด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ และการทบทวนโครงสร้างคณะกรรมการและสมาชิกกลุ่ม การจัดทำฐานข้อมูลการปลูกฯ การตรวจรับรองมาตรฐานแปลงปลูกสมุนไพรอินทรีย์ GAP, PGS และการสร้างศูนย์การเรียนรู้ครบวงจรระดับตำบล เป็นต้น ส่วนกิจกรรมกลางน้ำ มีการ Pre-audit การพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพร 2 ชนิด คือ น้ำมันนวดสมุนไพรหมอกไพร ที่ทำจากสมุนไพรหลัก คือ เถาเอ็นอ่อน ผักเสี้ยนผี และเพชรสังฆาต และลูกประคบเซรามิค ถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยีให้แก่สมาชิกกลุ่มฯ และจัดทำชุดข้อมูลองค์ความรู้ฯในรูปแบบ E-book (online) เผยแพร่ กิจกรรมปลายน้ำ การพัฒนา ส่งเสริมการตลาดออฟไลน์ และออนไลน์ เช่น จัดทำแคตตาล็อคสินค้า และอีแคตตาล็อค  จัดทำคลิปวีดีโอแนะนำสินค้า และกิจกรรมการสืบค้น สังเคราะห์ และสร้างชุดความรู้ด้านพืชสมุนไพร ตำรับยา และการรักษาของหมอ และเพื่อให้เกิดความยั่งยืนมีการเชื่อมโยงกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) เพื่อนำไปใช้ และเพื่อการสืบทอดองค์ความรู้ในพื้นที่ ต่อไป

Operating Model ประเด็นป่าชุมชน ภายใต้ โครงการ การแก้ไขปัญหาความยากจน ด้วยป่าชุมชนในอำเภอเถิน จังหวัดลำปาง ผลดำเนินงาน มีดังนี้ 1) กระบวนการจัดการป่าชุมชนอย่างมีส่วนร่วมของพื้นที่เป้าหมาย ดำเนินการครอบคลุมทั้ง 10 หมู่บ้าน พื้นที่ตำบลแม่มอก ก่อเกิดรูปธรรมของ    การมีส่วนร่วมในการทบทวนธรรมนูญป่าชุมชนของแต่หมู่บ้าน และเกิดแผนปฏิบัติการร่วมในการบริหารจัดการป่าชุมชน 2)จัดทำฐานข้อมูลป่าชุมชน คนจนกลุ่มเป้าหมายได้เกิดการเรียนรู้ในกระบวนการสำรวจชนิด ประเภท และการวัดขนาดของต้นไม้ ดำเนินการนำร่องใน 5 หมู่บ้านได้แก่หมู่ที่ 1 บ้านหัวน้ำมีป่าชุมชนจำนวน 4,413 ไร่ ดำเนินการเก็บข้อมูลได้จำนวน 15 แปลง พบชนิดพันธุ์ไม้ยืนต้นจำนวน 2,540 ชนิด และพันธุ์ไม้ 52 สกุล และ 134 ชนิด หมู่ที่ 4 บ้านสะพานหิน มีป่าชุมชนจำนวน 6,150 ไร่ ดำเนินการเก็บข้อมูลได้จำนวน 10 แปลง พบชนิดพันธุ์ไม้ยืนต้นจำนวน 2,331 ชนิด และพันธุ์ไม้ 33 สกุล และ 72 ชนิด หมู่ที่ 7 บ้านเด่นอุดม มีป่าชุมชนจำนวน1,584 ไร่ ดำเนินการเก็บข้อมูลได้จำนวน 10 แปลง พบชนิดพันธุ์ไม้ยืนต้นจำนวน 2,150 ชนิด และพันธุ์ไม้ 36 สกุล และ 75 ชนิด บ้านหัวน้ำพัฒนา ป่าชุมชนจำนวน 1,584 ไร่ ดำเนินการเก็บข้อมูลได้จำนวน 10 แปลง พบชนิดพันธุ์ไม้ยืนต้นจำนวน 2,150 ชนิด และพันธุ์ไม้ 36 สกุล และ 75 ชนิด และหมู่ที่ 10 บ้านสะพานหินพัฒนา และ 3)การพัฒนาต่อยอดระบบนิเวศวิทยาป่าไม้ให้มีความสมบูรณ์เพื่อชุมชนได้ใช้ประโยชน์จากทรัพยากร เป็นกิจกรรมที่มุ่งอนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น การสร้างฝาย การทำแนวกันไฟ “คนจนเป้าหมาย”เข้าร่วมเป็นทีมสำรวจ มีโอกาสฝึกอบรมทักษะการวางแปลง การวางแผน และฝึกปฏิบัติจริงในการจัดเก็บข้อมูลป่าชุมชน บันทึกข้อมูลเพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลการขอคาร์บอนเครดิต และยังก่อเกิดรายได้จากการเลี้ยงปลาดุก การเลี้ยงไก่ไข่ การปลูกพืชผักตามฤดูกาล การเลี้ยงไส้เดือนดินเพื่อใช้เป็นปุ๋ยอินทรีย์ในการบำรุงพื้นที่เพาะปลูก การทำปุ๋ยหมักใบไม้ การเลี้ยงแหนแดง นอกจากนี้ ยังได้ส่งเสริม การจัดทำบัญชีครัวเรือน ก่อเกิดการรวมกลุ่มจิตอาสาเพาะเมล็ดพันธุ์ไม้ยืนต้นและพืชสมุนไพร, เกิดศูนย์ฝึกภาคสนามการจัดทำแปลงถาวรเพื่อการเก็บข้อมูลกไม้ยืนต้น, การจัดทำคู่มือการวางแปลงถาวรและการเก็บข้อมูลไม้ยืนต้น หนังสือความหลากหลายของสมุนไพรในป่าแม่มอก

     ประเด็น Quick Win ภายใต้ โครงการ การพัฒนาโมเดลแก้จน อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง ด้วยกิจกรรม Quick win ผลการดำเนินงานพบว่า 1) การส่งเสริมการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรก่อเกิดรายได้ให้แก่คนจนเป้าหมาย สามารถลดรายจ่ายครัวเรือน/เพิ่มรายได้ จำแนกเป็นกิจกรรมหลัก ๆ ได้แก่ การปลูกผักปลอดภัย มีครัวเรือนยากจนเข้าร่วมจำนวน 96 ครัวเรือน การเลี้ยงไส้เดือน การเลี้ยงปลาดุก การปลูกหรือแปรรูปถั่วเหลือง การส่งเสริมเรื่องตราสินค้า/บรรจุภัณฑ์ การปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์ กิจกรรมปลูก/แปรรูปถั่วเหลืองจำนวน 29 ครัวเรือน กิจกรรมเลี้ยงไส้เดือน 15 ครัวเรือน กิจกรรมปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์จำนวน 11 ครัวเรือน กิจกรรมเลี้ยงปลาดุกจำนวน 10 ครัวเรือน มีการออกแบบตราสินค้า/บรรจุภัณฑ์จำนวน 6 ครัวเรือน นอกจากนี้ ครัวเรือนยากจนจะได้รับการอบรมการจัดทำบัญชีครัวเรือน         2) ส่งเสริมศักยภาพกลุ่ม หรือการส่งเสริมการรวมกลุ่ม การสร้างความรู้ การเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติ อย่างมีประสิทธิภาพ ก่อเกิดกลุ่มอาชีพ 3 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้ปลูกถั่วเหลืองจำนวน 29 ครัวเรือน กลุ่มทำน้ำเต้าหู้จำนวน 5 ครัวเรือน และกลุ่มผู้เลี้ยงไส้เดือนจำนวน 15 ครัวเรือน และก่อเกิดกลุ่มอาชีพ 3 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้ปลูกถั่วเหลืองจำนวน 29 ครัวเรือน กลุ่มทำน้ำเต้าหู้จำนวน 5 ครัวเรือน และกลุ่มผู้เลี้ยงไส้เดือนจำนวน 15 ครัวเรือน และก่อเกิดกลุ่มอาชีพ 3 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้ปลูกถั่วเหลืองจำนวน 29 ครัวเรือน กลุ่มทำน้ำเต้าหู้จำนวน 5 ครัวเรือน และกลุ่มผู้เลี้ยงไส้เดือนจำนวน 15 ครัวเรือน กลุ่มที่เกิดขึ้นใหม่นี้ มีทั้งผู้นำที่มีจิตอาสา และคนจนกลุ่มเป้าหมายร่วมอยู่ด้วย กลุ่มใหม่ที่เกิดขึ้นนี้จะได้รับการต่อยอด พัฒนาทักษะ เสริมองค์ความรู้ในเรื่องการปลูก และการแปรรูป เพื่อให้สามารถดำรงอยู่ได้ด้วยตนเองในโอกาสต่อไป    3) ส่งเสริมการบริหารจัดการกลุ่ม การตลาด อย่างครบวงจร กระบวนการวิจัยนอกจากจะส่งเสริมการรวมกลุ่มหรือจัดตั้งกลุ่มยังสนับสนุนให้มีการบริหารจัดการกลุ่มที่ เช่น จัดให้มีโครงสร้างของกลุ่ม หรือแบ่งหน้าที่โดยการจัดตั้งคณะกรรมการ เป็นต้น เสริมความรู้ด้านการจำหน่าย Facebook, Line ของผู้นำชุมชน ตลาดในชุมชน การออกตลาดกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน เป็นต้น นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้กลุ่มช่วยกันออกแบบตราผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม เพื่อสร้างการรับรู้ให้กับผู้บริโภคภายในและภายนอกชุมชน

4) การจัดทำ Poverty Forum เพื่อเป็นเครื่องมือในการประสานงานส่งต่อความช่วยเหลือและสร้างยุทธศาสตร์แก้ไขปัญหาความยากจนของพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรม การส่งต่อหน่วยงานความช่วยเหลือครัวเรือนยากจนไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผ่านกลไกต่าง ๆ เช่น การประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการวิจัยฯ ผ่านเวที เวทีระดับอำเภอ ร่วมถึงการส่งต่อให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมกิจการพลังงาน พัฒนาการอำเภอ พัฒนาสังคมความมั่นคงของมนุษย์ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นต้น การช่วยเหลือแบบไม่เป็นทางการ คือการที่นักวิจัยร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น อำเภอ หน่วยงานต่าง ๆ รวมถึง ผู้นำชุมชน ในการซ่อมแซมบ้าน คนจนเป้าหมายที่มีความลำบากเรื่องที่อยู่อาศัย การมอบสิ่งของเพื่อดำรงชีพ เป็นต้น สามารถส่งต่อครัวเรือนยากจนเพื่อรับการช่วยเหลือไปได้ทั้งสิ้นจำนวน 14,373 ครัวเรือน ได้รับการช่วยเหลือแล้วจำนวน 11,589 ครัวเรือน 134 ราย นอกนั้นอยู่ระหว่างการช่วยเหลือ 5) จัดทำยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาความยากจนระดับพื้นที่ที่เชื่อมโยงกับแผนยุทธศาสตร์ท้องถิ่น ตำบล อำเภอ/หรือแผนจังหวัด การขับเคลื่อนต้องดำเนินงานอาศัยการทำงานทั้งระดับ Top down และ Bottom Up โดยการเชื่อมโยงการทำงานร่วมกับหน่วยงานระดับจังหวัดคู่ขนานไปกับการขับเคลื่อนนโยบายระดับพื้นที่ ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและท้องที่ เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้านและผู้นำชุมชน ผลการดำเนินงานทำให้องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเสด็จต่อยอดโครงการในการช่วยเหลือครัวเรือนยากจน เป็นต้น ในขณะที่ระดับจังหวัดให้การยอมรับและใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่เกิดจากโครงการวิจัยฯ มากขึ้น ก่อเกิดกลไกความร่วมมือ เช่น จัดตั้งคณะทำงานระดับจังหวัดเพื่อทำหน้าที่วางแผนและกำกับติดตามผลการดำเนินงาน การบูรณาการ คน งานระหว่างหน่วยงาน เช่น สำนักงาน สำนักงานปฏิรูปเพื่อการเกษตรจังหวัดลำปาง สาธารณสุขจังหวัด อำเภอเมืองลำปาง เป็นต้น นอกจากนี้ ยังแนวทางการบูรณาการฐานข้อมูลร่วมกันในระยะต่อไป เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ร่วมกัน

Abstract

          Research Project Title: Development and Expansion of Localized Support Systems to Address Persistent and Precise Solutions to Poverty Issues in the Province of Lampang, Year 2 (AD 2022-2023)

          Work Progress Summary for the 12-Month Period Pursuant to the Main Objectives of the 5 Key Areas are as follows: 1. Search and Verification of Targeted Impoverished Groups: A task force was established to cover the 7 districts in Lampang province, including Sabprab, Mae Phrik, Serm Ngam, Ko Kha, Mae Tha, Wang Nuea, and Chae Hom, encompassing 46 sub-districts. Utilized the list of impoverished households in the TPMAP system for the year 2022, totaling 3,585 households. The task force conducted monthly meetings (twice per month) focusing on data search, verification, and synthesis, aiming to raise awareness at the district and sub-district levels. 2. Data Synthesis, Processing, Presentation, System Input, and Data Forwarding: From the 3,585 households in the TPMAP system, a survey was conducted on 2,287 households. This included 1,130 households from the TPMAP system and an additional/dropped out 1,157 households. 3. Development of Models/Approaches to Address Impoverishment Challenges: Implemented a pioneering project called "Poverty Alleviation Model," focusing on three aspects: Herbal Medicine, Community Forest, and Quick Wins in the leading area of Amphoe Thoen. These efforts are aimed at addressing impoverishment challenges through a precise and effective approach. The outcomes of the 12-month work period are summarized as follows: Data were collected from the TPMAP system and through additional surveys. Regular meetings were conducted to raise awareness at the district and sub-district levels. A Poverty Alleviation Model project was initiated, focusing on herbal medicine, community forest, and Quick Wins in the leading area of Amphoe Thoen. These results provide a foundation for the next steps of the project, with a focus on addressing impoverishment challenges in Lampang province in a precise and effective manner.

Operating Model: Herbal Focus under the Development Project of the Value Chain of Mae Mok Herbal Products to Address Poverty Issues in Amphoe Thoen, Lampang Province. The progress of the activities is as follows: Upstream Activities: Strategic Planning: Development is strategized in four dimensions, aiming to expand the market for herbal products. Organizational Development: Enhancing the organization's capabilities. New Product Value Creation: Introducing new products using biotechnology. Committee and Group Structure Review: Evaluating the committee's structure and group members. Database Establishment for Cultivation: Compiling a database for herbal cultivation. Certification Standards: Implementing organic herbal farm certification standards, including GAP and PGS. Establishment of Integrated Learning Centers: Creating holistic learning centers at the sub-district level. Midstream Activities: Pre-audit: Conducting pre-audits for certification. Herbal Product Development: Developing two herbal products: "Mae Mok Herbal Massage Oil" from primary herbs such as tender ginger, devil's tongue fern, and sacred lotus, and ceramic compress balls. Knowledge Transfer: Transferring knowledge and technology to group members. E-book Knowledge Database: Creating and disseminating knowledge in E-book (online) format. Downstream Activities: Market Development: Promoting offline and online marketing. Product Catalog and E-catalog: Creating product catalogs and e-catalogs. Video Clips: Producing video clips to introduce products. Search, Synthesis, and Knowledge Set Creation: Conducting research, synthesis, and creating knowledge sets on herbal plants, traditional medicine recipes, and treatments. Sustainability Linkage: Establishing connections with relevant organizations such as public health and sub-district hospitals for sustainable knowledge transmission in the area. This operating model encompasses a comprehensive approach from cultivation to market development, focusing on sustainable knowledge transfer and poverty alleviation in the target area.

          Operating Model: Community Forest Focus under the Poverty Alleviation Project through Community Forests in Amphoe Thoen, Lampang Province. The progress of the activities is as follows: 1. Community Forest Management Process with Participatory Approach: Participatory management processes were conducted across 10 target villages in Tambon Mae Mok. Collaborative participation was encouraged in reviewing community forest bylaws for each village. Joint plans for community forest management were developed. 2. Community Forest Database Establishment: Learning activities took place through surveys of tree species, types, and measurements. Navigation was conducted in five villages, specifically: Ban Hua Nam developed a community forest covering 4,413 rai, data collected from 15 plots, revealing 2,540 tree species and 52 genera. Ban Sap Phan Hin developed a community forest covering 6,150 rai, data collected from 10 plots, revealing 2,331 tree species and 33 genera. Ban Den Udom developed a community forest covering 1,584 rai, data collected from 10 plots, revealing 2,150 tree species and 36 genera. Ban Hua Nam Phatthana developed a community forest covering 1,584 rai, data collected from 10 plots, revealing 2,150 tree species and 36 genera. Ban Sap Phan Hin Phatthana developed a community forest, data not specified. 3. Development of an Ecologically Sustainable Forest System: Conservation and restoration activities were undertaken to benefit the community. Initiatives included creating firebreaks and organizing anti-fire campaigns. People from impoverished backgrounds participated in surveys and gained opportunities for training and practical experience in data collection for community forests. Income generation initiatives involved carbon credit applications, fish farming, egg-laying chicken farming, seasonal vegetable cultivation, earthworm farming for organic fertilizer, composting leaf litter, and raising red worms. Promoted household accounting practices and established voluntary groups for seedling cultivation and herbal plantations. Developed field training centers, established permanent plots for tree species data collection, and created guides for long-term plot placement and tree data collection. Published a booklet on the diversity of herbal plants in the Mae Mok forest. This operating model involves a collaborative approach to community forest management, focusing on learning, data collection, and sustainable ecological practices for the benefit of the local population, along with economic empowerment initiatives.

          Quick Win Focus under the Poverty Alleviation Project through Quick Win Activities in Amphoe Thoen, Lampang Province: 1. The progress of Quick Win activities in addressing poverty in Amphoe Thoen, Lampang Province through various agricultural initiatives has shown significant results: Promotion of Agricultural Product Processing: Agricultural processing initiatives have generated income for the targeted impoverished individuals, leading to reduced household expenses and increased revenue. Key activities include: Safe vegetable cultivation involving 96 participating households. Vermiculture (earthworm farming) and fish farming. Yellow bean cultivation or processing. Promotion of branded products/packaging. Grass cultivation for animal husbandry. Training on household accounting was provided to impoverished households. 2.Enhancing Group Potential and Promoting Community Involvement: Activities aimed at fostering knowledge, resource access, and efficient utilization include: Establishment of three new occupational groups: yellow bean growers (29 households), watermelon growers (5 households), and vermiculture practitioners (15 households). Empowerment of new groups with volunteer leaders and the participation of impoverished individuals. Continuous development and training to enhance skills and knowledge in cultivation and processing, enabling sustainable self-reliance. 3.Promoting Group Management and Holistic Marketing: Research and support initiatives extend beyond group formation to include group management. This involves creating structures such as committees and assigning roles. Strengthening marketing skills through various channels, including social media platforms like Facebook and Line, has been encouraged. Market exploration within the community and collaboration with governmental and private organizations has been facilitated. The groups are encouraged to design product labels to enhance consumer awareness within and beyond the community. These Quick Win activities have effectively addressed poverty by empowering communities with sustainable agricultural practices, income-generating initiatives, and comprehensive group management and marketing strategies. 4) Poverty Forum Development: The establishment of a Poverty Forum serves as a crucial tool for coordinating and strategizing solutions to address poverty issues in a fair and transparent manner. This forum facilitates the referral of impoverished households to relevant assistance units through various mechanisms. The coordination involves: Research Project Steering Committee Meetings: Conduction of project research committee meetings to discuss and disseminate findings at both district and provincial levels. Referral Mechanisms: Utilization of platforms such as stages and forums to refer impoverished households to relevant agencies. Collaboration with various organizations, including the Department of Energy, District Development Offices, and Human Security Development Organizations. Informal Assistance: Informal assistance involves researchers working with relevant organizations, local authorities, and community leaders to address issues related to housing repairs and providing essential items for those facing difficulties in housing. Total Households Assisted: A total of 14,373 households have been identified and referred for assistance. Out of these, 11,589 households (134 cases) have already received support, while the remaining households are in the process of receiving assistance. The Poverty Forum, through its comprehensive approach, ensures the effective coordination of resources and assistance, ultimately contributing to the alleviation of poverty in the region. 5) Strategy Development for Addressing Local Poverty Issues: The strategy for addressing local poverty issues involves a comprehensive approach that integrates both top-down and bottom-up initiatives, linking with local, district, and provincial strategic plans. This strategy is implemented through collaborative efforts with provincial-level organizations in tandem with local-level initiatives and community leadership, such as village chiefs, elders, and community leaders. The operationalization of this strategy has resulted in the amplification of projects aimed at assisting impoverished households. At the sub-district level, local administrative organizations have been instrumental in extending support to vulnerable households. Simultaneously, at the provincial level, there has been an increased recognition and utilization of data generated from research projects. The collaboration has led to the creation of cooperative mechanisms, including the establishment of provincial level working groups responsible for planning and monitoring project outcomes. There is also ongoing integration and coordination among various agencies, such as the Provincial Agricultural Reform Office, Provincial Health Office, and the Municipality of Mueang Lampang. Furthermore, there is a forward-looking approach to the integration of shared databases in the future. This collaborative data-sharing initiative aims to enhance mutual benefits and streamline the utilization of resources for more effective poverty alleviation strategies.

Scroll to Top