มาตรการ/โครงการต่างๆ ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม

University’s Measures/Projects towards Affordable & Clean Energy and Environment

SDG 7,12,13,15

 

รูปภาพ2

มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง มีการกำหนดและประกาศนโยบายเกี่ยวกับการจัดหาพลังงานสะอาด การปฏิรูปพลังงานหรือจัดหาพลังงานที่มีประสิทธิภาพ มีการดำเนินโครงการบริหารจัดการเพื่อการประหยัดพลังงาน โดยมีการรณรงค์ทั้งด้านการประหยัดพลังงานทั้งไฟฟ้า เชื้อเพลิง และน้ำ การจัดหาเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงการส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาด การยกระดับ/ปรับปรุงการก่อสร้างที่ใช้พลังงานที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น

ในส่วนของมาตรการ/นโยบาย เกี่ยวกับการจัดการขยะ การจัดการกับของเสีย และการช่วยกันดูและรักษาสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยมีการออกประกาศ เรื่อง นโยบายฯ ด้านการลด และคัดแยกขยะมูลฝอยในหน่วยงานและนโยบาย “งดภาชนะโฟมบรรจุอาหาร และลด ละ เลิกการใช้ถุงพลาสติก ลดภัยสิ่งแวดล้อม” พร้อมทั้งมีการจัดกิจกรรมให้ความรู้ ร่วมลงมือดำเนินการ รณรงค์ ประชาสัมพันธ์ กระตุ้นให้นักเรียน นักศึกษา บุคลากรภายใน และประชาชนทั่วไป ให้ร่วมกันประหยัดพลังงาน อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ

 

 

การออกประกาศมาตรการ/นโยบาย ซึ่งมีผลบังคับใช้ อย่างต่อเนื่องและมีการทบทวนเป็นประจำ อาทิ

- มาตรการรักษาความปลอดภัยของสถานที่และทรัพย์สินและมาตรการลดใช้พลังงาน พ.ศ.2563 http://wianglagon.lpru.ac.th/president/15energy/pdf/630116%20save%20energy%202563.PDF

- มาตรการรักษาความปลอดภัยของสถานที่และทรัพย์สิน และมาตรการลดใช้พลังงาน พ.ศ.2565

https://wianglagon.lpru.ac.th/president/15energy/pdf/650105%20dd.pdf

- ประกาศสำนักงานอธิการบดี เรื่อง นโยบายการประหยัด ประจำปีงบประมาณ 2564

https://www.lpru.ac.th/abouts-57/64/announce_lpru-291064.pdf

- ประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง เรื่อง นโยบายและมาตรการลดการใช้พลังงานไฟฟ้าและน้ำประปา (2565)

https://www.lpru.ac.th/abouts-57/64/announce_lpru-291064.pdf

- ประกาศมหาวิทยาลัย เรื่อง นโยบายฯ ด้านการลด และคัดแยกขยะมูลฝอยในหน่วยงาน

และนโยบาย “งดภาชนะโฟมบรรจุอาหาร และลด ละ เลิกการใช้ถุงพลาสติก ลดภัยสิ่งแวดล้อม”

https://www.lpru.ac.th/abouts-57/63/newsscan_doc-281263.pdf

 

การยกระดับ/ปรับปรุงการก่อสร้างที่ใช้พลังงานที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น

(Upgrading building to Higher Energy Efficiency)

มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางมีการจัดตั้งคณะทำงานด้านการจัดการพลังงานเพื่อปฏิบัติการ กำกับ ดูแล บริหารจัดการการใช้พลังงานภายในมหาวิทยาลัยให้มีประสิทธิภาพ มีการแต่งตั้งคณะผู้ตรวจประเมินการจัดการพลังงาน มีการกำหนดเป้าหมายและแผนการอนุรักษ์พลังงาน มีการดำเนินโครงการที่สอดคล้องกับนโยบาย เช่น โครงการปรับปรุงระบบไฟฟ้าภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ประจำปีงบประมาณ 2565 เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐาน ให้เกิดความปลอดภัย และเพื่อลดการสิ้นเปลืองจากการใช้พลังงานไฟฟ้าจากระบบแสงสว่างและระบบปรับอากาศลง รวมทั้งมีการจัดทำรายงานการจัดการพลังงานเพื่อรายงานผลไปยังกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ทุกปี โดยมีการเผยแพร่ข้อมูลต่างๆ ในเว็ปไซด์โครงการอนุรักษ์พลังงานมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

- Website โครงการอนุรักษ์พลังงานมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

http://wianglagon.lpru.ac.th/president/15energy/index1.html

- รายงานการจัดการพลังงาน ประจำปี 2565

https://wianglagon.lpru.ac.th/president/15energy/pdf/660321%20energy2565.PDF

 

- คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง

https://wianglagon.lpru.ac.th/president/15energy/structure63.html

 

- โครงการปรับปรุงระบบไฟฟ้าภายในมหาวิทยาลัย

https://www.lpru.ac.th/news_lpru/wp-content/uploads/2021/03/e-bidding-electricity-09-03-64.pdf

https://www.lpru.ac.th/news_lpru/?p=22466

 

การลดปริมาณก๊าซคาร์บอนและการลดปริมาณการปล่อยพลังงาน

(Carbon Reduction and Emission Reduction Process)

มหาวิทยาลัยมีกระบวนการจัดการคาร์บอนและการลดปริมาณการปล่อยก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์โดยมีการประกาศมาตรการและการรณรงค์ เกี่ยวกับการลดการใช้พลังงาน ประหยัดเชื้อเพลิง การใช้รถไฟฟ้าในการเดินทางติดต่องานของหน่วยงานต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัย การลดการใช้ถุงพลาสติกและโฟม การคัดแยกขยะ และกิจกรรมปลูกต้นไม้ภายในมหาวิทยาลัย โดยมีการติดประกาศประชาสัมพันธ์ และเผยแพร่ภาพรณรงค์ในสื่อประชาสัมพันธ์ทั้งในพื้นที่และในรูปแบบออนไลน์ ที่นักเรียน นักศึกษา บุคลากรภายในและบุคคลภายนอกที่เข้ามาในมหาวิทยาลัยจะได้ยึดถือปฏิบัติร่วมกัน ทั้งนี้เพื่อเป็นการลดปริมาณคาร์บอนและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

รูปภาพ3

- ประกาศสำนักงานอธิการบดี เรื่อง นโยบายการประหยัด ประจำปีงบประมาณ 2564

https://www.lpru.ac.th/abouts-57/64/announce_lpru-291064.pdf

- ประกาศมหาวิทยาลัย เรื่อง นโยบายฯ ด้านการลด และคัดแยกขยะมูลฝอยในหน่วยงาน

และนโยบาย “งดภาชนะโฟมบรรจุอาหาร และลด ละ เลิกการใช้ถุงพลาสติก ลดภัยสิ่งแวดล้อม”

https://www.lpru.ac.th/abouts-57/63/newsscan_doc-281263.pdf

 

- กิจกรรมการปลูกต้นไม้ภายในมหาวิทยาลัย

มร.ลป. จัดกิจกรรมจิตอาสา เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง 12 สิงหาคม 2565

เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2565 รศ.ดร.ปริเยศ สิทธิสรวง รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง พร้อมด้วยคณะผู้บริหารคณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และสมาชิกจิตอาสาสังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ได้ทำกิจกรรมจิตอาสาปลูกต้นไม้ พร้อมทั้งพัฒนาภูมิทัศน์ภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง 12 สิงหาคม 2565 มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมกว่า 50 คน ภายใต้มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างเคร่งครัด

เว็บไซต์มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง : lpru.in/0cr

มร.ลป.จิตอาสาปลูกต้นไม้และพัฒนาภูมิทัศน์เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 28 กรกฎาคม 2565

เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2565 รศ.ดร.พิมผกา โพธิลังกา รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและวิชาการต่างประเทศ พร้อมด้วยนายจตุพร จันทรมา ผู้อำนวยการกองกลาง คณาจารย์ นักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ และสมาชิกจิตอาสาพระราชทาน สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ร่วมกิจกรรมจิตอาสาจิตอาสาปลูกต้นไม้และพัฒนาภูมิทัศน์เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ บริเวณด้านหลังอาคารบริการวิชาการ จนถึงทางแยกหอพักหญิง มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง กิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อให้คณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาของมหาวิทยาลัยฯ ได้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยการปลูกต้นไม้และบำรุงรักษาต้นไม้ เพื่อสร้างความร่มรื่นสวยงามให้กับมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

เว็บไซต์มหาวิทยาลันราชภัฏลำปาง : lpru.in/mgi

รูปภาพ4
รูปภาพ5

มร.ลป. จัดโครงการต้นไม้ล้านต้น ล้านความดี

เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2565 รศ.ดร.กิตติศักดิ์ สมุทธารักษ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง พร้อมด้วยนายจำลักษ์ กันเพ็ชร์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง นำคณะผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง สถาบันการศึกษา สถาบันอุดมศึกษา และภาคีเครือข่ายต่างๆ ต้อนรับ ศ.พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พร้อมกล่าวรายงานความเป็นมาและวัตถุประสงค์ของการจัดโครงการ ต้นไม้ล้านต้น ล้านความดี

โดยกิจกรรมดังกล่าวเป็นการดำเนินการจากการบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงศึกษาธิการ กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา กระทรวงการคลัง และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศเข้าร่วมกิจกรรม ทั้งในรูปแบบ Online จำนวน 14 สถาบัน และในรูปแบบ On Site จำนวน 10 สถาบัน มีนักเรียนนักศึกษา หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน เครือข่ายภาคประชาชน และสมาชิกป่าชุมชน เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 500 คน ณ ศูนย์การเรียนรู้มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง (ดอยพระบาท)

รูปภาพ6
รูปภาพ7

การวางแผนลดการเผาผลาญพลังงาน

(Plan to Reduce Energy Consumption)

มหาวิทยาลัย มีการกำหนดเป้าหมายและแผนการอนุรักษ์พลังงาน มีการดำเนินโครงการที่สอดคล้องกับนโยบาย เช่น โครงการปรับปรุงระบบไฟฟ้าภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ประจำปีงบประมาณ 2565 และมีการออกประกาศและเผยแพร่ รณรงค์ ตามนโยบายการประหยัด ประจำปีงบประมาณ 2564 การประหยัดพลังงานทั้งไฟฟ้า เชื้อเพลิง น้ำ และมาตรการด้านเทคโนโลยีดิจิทัลที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดการใช้พลังงานที่มีประสิทธิภาพและลดการใช้พลังงานโดยรวม

- ประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง เรื่อง นโยบายและมาตรการลดการใช้พลังงานไฟฟ้าและน้ำประปา (2565)

https://www.lpru.ac.th/abouts-57/64/announce_lpru-291064.pdf

- รายงานการจัดการพลังงาน ประจำปี 2565

https://wianglagon.lpru.ac.th/president/15energy/pdf/660321%20energy2565.PDF

 

การตรวจสอบการสูญเสียด้านพลังงาน

(Energy Wastage Identification)

มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางมีการจัดตั้งคณะทำงานด้านการจัดการพลังงานเพื่อปฏิบัติการ กำกับ ดูแล บริหารจัดการการใช้พลังงานภายในมหาวิทยาลัยให้มีประสิทธิภาพ มีการแต่งตั้งคณะผู้ตรวจประเมินการจัดการพลังงาน มีการติดตั้งมิเตอร์วัดพลังงานทุกอาคาร เพื่อติดตามตรวจสอบ

เมื่อมีการดำเนินโครงการปรับปรุงเพื่อลดการใช้พลังงาน ก็มีการตรวจสอบผลการประหยัดหลังปรับปรุง แล้วนำผลที่ได้มาแก้ไขข้อบกพร่อง และมีการจัดทำรายงานการจัดการพลังงานเพื่อรายงานผลไปยังกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ทุกปี

- คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการและรายงานผลการจัดการพลังงาน ปี พ.ศ. 2565

https://wianglagon.lpru.ac.th/president/15energy/pdf/660321%20energy2565.PDF

นโยบายลดการพึ่งพาอุตสาหกรรมพลังงานที่ปลดปล่อยคาร์บอนสูง

(Divestment Policy)

มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางมีการดำเนินโครงการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนในหน่วยงานภาครัฐ – มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง โดยมีการใช้พลังงานทดแทนจากแสงอาทิตย์ โดยการติดตั้งระบบ Solar PV Rooftop ตามอาคารและโรงจอดรถยนต์ ขนาดกำลังผลิตรวม 302.08  kWdc แบบ On-grid ซึ่งเริ่มดำเนินการและใช้งานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 เป็นต้นมา รวมทั้งมีโครงการปรับปรุงระบบไฟฟ้า โดยเปลี่ยนมาใช้ระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ เช่น โครงการปรับปรุงอาคารและบริเวณโดยรอบหอประชุมใหญ่ มีงานติดตั้งระบบไฟถนน Solar Cell All in One บริเวณรอบอาคารหอประชุมใหญ่ เพื่อทดแทนการใช้ระบบไฟฟ้าแบบเดิม เป็นต้น

- ประกาศโครงการ

https://www.lpru.ac.th/news_lpru/?p=17674

https://www.lpru.ac.th/news_lpru/wp-content/uploads/2020/02/auditorium-270263-4.pdf

รูปภาพ8
รูปภาพ10
รูปภาพ12
รูปภาพ9
รูปภาพ11
รูปภาพ13

การดำเนินงานส่งเสริมสนับสนุนและช่วยเหลือชุมชน ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม

(Outreach Programmes on Energy and Environment)

มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง มีการดำเนินงานทั้งโครงการวิจัยเพื่อพัฒนา และโครงการบริการวิชาการ ซึ่งมีการบูรณาการกับการจัดการเรียนการสอนและการพัฒนานักศึกษาด้วย ในชุมชนต่างๆ หลายโครงการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โครงการ U2T ซึ่งตลอดระยะเวลาโครงการในแต่ละชุมชน ได้มีการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมสนับสนุน หรือแก้ไขปัญหา เพื่อการอนุรักษ์พลังงาน และรักษาสิ่งแวดล้อมตามบริบทความต้องการและความจำเป็นของแต่ละชุมชนด้วย

รูปภาพ14

- สรุปรายงานสรุปตัวชี้วัดและผลลัพธ์จากการดำเนินนงาน โครงการ U2T มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

http://www.plan.lpru.ac.th/u2tplan/main.php?p=1&id=32

- Facebook Fanpage ประชาสัมพันธ์ข่าวสารโครงการ U2T LPRU และ U2T LPRU for BCG

https://www.facebook.com/profile.php?id=100066578713207

 

ความร่วมมือ

มร.ลป. จัดพิธีลงนามความร่วมมือ “การดำเนินการตามนโยบายสาธารณะเพื่อยกระดับการใช้พลังงานทดแทนในพื้นที่จังหวัดลำปาง”

เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2566 มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางและสำนักงานพลังงานจังหวัดลำปาง จัดพิธีลงนามความร่วมมือ “การดำเนินการตามนโยบายสาธารณะเพื่อยกระดับการใช้พลังงานทดแทนในพื้นที่จังหวัดลำปาง” ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ศูนย์วิจัยชุมชน และกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโค ณ ห้องประชุมโอฬารโรจน์ ชั้น 1 อาคารโอฬาร โรจน์หิรัญ รศ.ดร.กิตติศักดิ์ สมุทธารักษ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง กล่าวต้อนรับ โดยได้รับเกียรติจากนายชัชวาลย์ ฉายะบุตร ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง เป็นประธานในพิธีเปิด รศ.ดร.พิมผกา โพธิลังกา รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและวิชาการต่างประเทศ กล่าวรายงาน

โดยการลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างต้นแบบการใช้ก๊าซชีวภาพเป็นพลังงานทดแทนที่ยั่งยืนในชุมชน และผลักดันนวัตกรรมกระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้เทคโนโลยีการผลิตก๊าซชีวภาพเป็นพลังงานทดแทนเป็นนโยบายสาธารณะ

พร้อมกันนี้ได้จัดเวทีขับเคลื่อน “การนำนวัตกรรมกระบวนการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนเป็นนโยบายสาธารณะ” ได้รับเกียรติจากนายนรินทร์ พันธ์เขียว นักวิชาการพลังงานชํานาญการพิเศษ สำนักงานพลังงานจังหวัดพิษณุโลก นายศักดิ์ดา ทาคำ ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.บ้านเอื้อม นายชัยกร วงค์ชมภู ผู้ใหญ่บ้านน้ำโท้ง หมู่ที่ 5 ตำบลบ่อแฮ้ว อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง และนายอวิรุทธ์ บัวใหญ่ นักวิชาการพลังงาน ปฏิบัติการ สำนักงานพลังงานจังหวัดลำปาง ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งในภาคบ่ายได้มีการศึกษาดูงานในพื้นที่บ้านทุ่งตุ่น-แม่ติว ตำบลวอแก้ว อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง โดยได้มีการจัดเวทีส่งต่อความสำเร็จ : ต้นแบบการผลิตก๊าซชีวภาพให้เกิดความยั่งยืน เพื่อเป็นพลังงานทดแทนและเข้าถึงได้ง่าย

https://www.facebook.com/prlpru2015/posts/pfbid02TkwvHGia13kg1bumnyuJF5wBN9FkvNitJix9utdXUjGoL34BpQ2vXvLcQsYXomc5l

https://lampang.prd.go.th/th/content/category/detail/id/13/iid/149200

 

โครงการบริการวิชาการและหลักสูตรฝึกอบรม

มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางมีการจัดโครงการบริการวิชาการและหลักสูตรการอบรม เพื่อให้ความช่วยเหลือ/ถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีด้านพลังงานแก่ชุมชนท้องถิ่น ในปี 2565  ได้แก่

มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ร่วมกิจกรรมอบรมและวางแผนพลังงานชุมชนให้กับเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2565 รศ.ดร.พิมผกา โพธิลังกา รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและวิชาการต่างประเทศ ร่วมกิจกรรมอบรมและวางแผนพลังงานชุมชนให้กับเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภายใต้โครงการเพิ่มสมรรถนะด้านการบริหารจัดการพลังงานครบวงจรในระดับตำบล โดยสำนักงานพลังงานจังหวัดลำปาง ณ ศูนย์เรียนรู้บ้านเพาะรัก ตำบลบ่อแฮ้ว อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง โดยมี นายจารุเกียรติ ปัญญาดี พลังงานจังหวัดลำปาง เป็นประธานกล่าวเปิดการอบรม

กิจกรรมในครั้งนี้เป็นการบรรยายให้ความรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่ได้รับการสนับสนุนโครงการด้านพลังงานชุมชน และการสาธิตการใช้เตาเผาชีวมวล ทั้งนี้ รศ.ดร.พิมผกา โพธิลังกา ได้รับเกียรติเป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อ เทคโนโลยีพลังงานที่เหมาะสมต่อชุมชน ซึ่งมีผู้บริหารและผู้แทนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้าร่วมกิจกรรมทั้งสิ้น 65 คน

เว็บไซต์มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง : lpru.in/HSup

 

มร.ลป. ร่วมประชุมเพื่อส่งเสริมและให้คำปรึกษาด้านการใช้ก๊าซชีวภาพเป็นพลังงานทดแทนในครัวเรือนและการปรับปรุงคุณภาพก๊าซชีวภาพเพื่อการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ

เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2565 รศ.ดร.พิมผกา โพธิลังกา รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและวิชาการต่างประเทศ ผู้เชี่ยวชาญประจำคลินิกเทคโนโลยี เครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ได้เข้าร่วมการประชุมเพื่อให้คำปรึกษาด้านการใช้ก๊าซชีวภาพเป็นพลังงานทดแทนในครัวเรือนและการปรับปรุงคุณภาพก๊าซชีวภาพ เพื่อการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ แก่เกษตรกรและผู้สนใจในพื้นที่ตำบลสันดอนแก้ว อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบลสิริราช อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง

พร้อมกันนี้ได้พบปะผู้นำชุมชน และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม) นำเสนอประชาสัมพันธ์โครงการสำคัญต่างๆ ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางได้ทำร่วมกับพื้นที่ตำบลสันดอนแก้ว และได้ลงพื้นที่เพื่อให้คำปรึกษาด้านการใช้ก๊าซชีวภาพเป็นพลังงานทดแทนในครัวเรือนและฟาร์มปศุสัตว์ในพื้นที่ บ้านแม่วะ บ้านสันดอนแก้ว และบ้านแม่ทาน เพื่อส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ในราคาที่เหมาะสม ตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)

เว็บไซต์มหาวิทยาลัย : lpru.in/LhGJ

 

คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มร.ลป. จัดอบรมพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา แก่บุคลากรภาครัฐ

เมื่อวันที่ 11 - 12 พฤศจิกายน 2565 งานบริการวิชาการและถ่ายทอดเทคโนโลยี คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม จัดอบรมพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา ณ ศูนย์ถ่ายทอดวิศวกรรมและเทคโนโลยี ชั้น 3 อาคารบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง โดยมี อ.ศักดิ์ชัย ศรีมากรณ์ รองคณบดีคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม เป็นวิทยากรในการให้ความรู้ในหัวข้อดังกล่าว

โดยมีบุคลากรในส่วนของหน่วยงานภาครัฐเข้าร่วมการอบรมจำนวน 40 คน เพื่อถ่ายทอดความรู้ทางด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยี เป็นแหล่งเรียนรู้ทางสังคม ก่อให้ให้เกิดนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา และเพื่อก่อให้เกิดรายได้ให้แก่หน่วยงาน

เว็บไซต์มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง : lpru.in/iYMv

 

อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ มร.ลป. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การคืนความรู้เชิงวิทยาศาสตร์ ปลาย่างเตาถ่าน และการเขียนแผนธุรกิจ" (Business Model Canvas)

วันที่ 27 ตุลาคม 2565 อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ได้จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การคืนความรู้เชิงวิทยาศาสตร์ ปลาย่างเตาถ่าน และการเขียนแผนธุรกิจ" (Business Model Canvas) ณ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ตำบลบ้านอ้อน อำเภองาว จังหวัดลำปาง ตามโครงการสร้างผู้ประกอบการชุมชน (Local Startups) ภายใต้แผนงานการส่งเสริมการนำนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่เพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน (Area-based Innovation for Community)

ในการนี้ ผศ.ดร.เนตรดาว โทธรัตน์ อาจารย์สังกัดคณะวิทยาการจัดการ รองอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ พร้อมด้วยทีมงานลงพื้นที่ดำเนินการ โดยได้รับเกียรติจาก ดร.ทิพรัตน์ ติฆะปัญญา อาจารย์สังกัดคณะเทคโนโลยีการเกษตร รองอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ เป็นวิทยากรบรรยาย ซึ่งมีผู้เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ เป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรกรก้าวหน้า บ้านแม่กวัก ตำบลบ้านอ้อน อำเภองาว จังหวัดลำปาง ที่ขับเคลื่อนธุรกิจเกษตรอินทรีย์ กิจกรรมดังกล่าวเป็นการสร้างผู้ประกอบการชุมชน (Local Startups) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มศักยภาพชุมชน การพัฒนาธุรกิจชุมชนด้วยนวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์ ผ่านงานวิจัยและเทคโนโลยีเพื่อการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ พัฒนาสังคมและชุมชนอย่างยั่งยืนต่อไป

เว็บไซต์มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง : lpru.in/b52L

 

คลินิกเทคโนโลยี คณะวิทย์ ฯ มร.ลป. ร่วมกับเทศบาลตำบลเสริมซ้าย จัดการประชุมให้คำปรึกษาการแก้ไขปัญหากลิ่นไม่พึงประสงค์จากฟาร์มปศุสัตว์ และการผลิตก๊าซชีวภาพ

เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2565 รศ.ดร.พิมผกา โพธิลังกา รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและวิชาการต่างประเทศ ผู้เชี่ยวชาญประจำคลินิกเทคโนโลยี เครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ได้เข้าร่วมการประชุมชี้แจงแนวทางการถ่ายทอดเทคโนโลยี นวัตกรรมกำจัดกลิ่นจากฟาร์มสุกร : ต้นแบบระบบกำจัดกลิ่นแบบผสมผสาน เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากและคุณภาพชีวิตในชุมชน ให้แก่เกษตรกรและผู้ประกอบการด้านความปศุสัตว์ในพื้นที่ตำบลเสริมซ้าย อำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบลเสริมซ้าย อำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง

โดยการจัดประชุมในครั้งนี้ รศ.ดร.พิมผกา โพธิลังกา เป็นวิทยากรให้ความรู้ในหัวข้อการแก้ไขปัญหากลิ่นไม่พึงประสงค์จากฟาร์มปศุสัตว์และการผลิตก๊าซชีวภาพใช้เป็นพลังงานทดแทนในครัวเรือนและฟาร์มปศุสัตว์ การประชุมดังกล่าว มีผู้ประกอบการปศุสัตว์ เกษตรกร และผู้นำชุมชนเข้าร่วมกว่า 30 คน

เว็บไซต์มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง : lpru.in/3v13

โครงการปี 2564

  1. การอบรมเชิงปฏิบัติการระบบสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ โดยศูนย์ถ่ายทอดวิศวกรรมและเทคโนโลยี คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม  เพื่อให้ความรู้และพัฒนาทักษะด้านระบบสูบน้ำพลังแสงอาทิตย์ สำหรับผู้ที่สนใจทั้งภายในและภายนอก สมัครเข้าร่วมอบรมได้ฟรี เพื่อนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพของตนเอง โดยมีการบรรยายในเรื่อง พื้นฐานระบบไฟฟ้าและวงจรไฟฟ้าพื้นฐานสายไฟ หลักการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์และระบบความปลอดภัย หลักการออกแบบระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ พร้อมทั้งนำเสนอตัวอย่างกรณีศึกษาระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์รูปแบบต่าง ๆ มีผู้เข้าร่วมอบรมกว่า 40 คน ระหว่างวันที่ 25 – 26 มีนาคม 2564

- ภาพกิจกรรม

http://www.itech.lpru.ac.th/site/?p=1115

  1. โครงการวิจัยและบริการวิชาการ เรื่อง การพัฒนาต้นแบบเทคโนโลยีการลดความชื้นผลผลิตทางการเกษตรและวัสดุชีวภาพมูลค่าสูงด้วยอากาศร้อนที่เหมาะสม โดยใช้แหล่งพลังงานความร้อนร่วม (The Development of a prototype for dehumidification technology for agricultural products and high-value biological materials with appropriate hot air by using combined heat sources.) โดยคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม และสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง จัดทำโครงการวิจัยนี้ โดยได้มีการจัดทำโรงอบแห้งแมคคาเดเมีย (Solar Drying House) ลดต้นทุน ด้วยพลังงานสะอาด ให้แก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านแม่แจ๋ม ต.แจ้ซ้อน อ.เมืองปาน จ.ลำปาง

- ข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินโครงการวิจัย

https://www.youtube.com/watch?v=xTlnUb6MXas

- การนำเสนอข้อมูลผลการดำเนินโครงการในรายการโทรทัศน์ รายการ “รู้ค่าพลังงาน” ทางช่อง 3 HD และ YouTube Channel รู้ค่าพลังงาน Watchdog

https://www.youtube.com/watch?v=ByUFLyRgucE

 

  1. การสนับสนุนการนำพลังงานหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่สู่ชุมชน

1) มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง มีการสนับสนุนชุมชนให้มีการนำพลังงานหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ในชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ก๊าซชีวภาพ ซึ่งเกษตรกรสามารถผลิตใช้เองได้จากของเสียที่เกิดขึ้นในครัวเรือนและฟาร์มปศุสัตว์ โดยคณาจารย์ร่วมเป็นวิทยากรบรรยายและจัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ รวมทั้งได้มีการสนับสนุนให้จัดตั้งศูนย์วิจัยชุมชนด้านก๊าซชีวภาพและพลังงานทดแทนขึ้น ณ บ้านทุ่งผา ต.วอแก้ว อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง ซึ่งจัดตั้งขึ้นด้วยการสนับสนุนโดยเครือข่ายวิจัยภูมิภาค : ภาคเหนือ ประจำปี 2564 เพื่อเป็นแหล่งศึกษา ค้นคว้า แลกเปลี่ยนเรียนรู้ของเกษตรกรผู้ใช้ก๊าซชีวภาพและผู้สนใจ โดยมีคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยเป็นคณะกรรมการประจำศูนย์ฯ ด้วย

2) คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ ภายใต้โครงการบริการวิชาการ
“โครงการส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพในการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ของคนในชุมชนด้วยเทคโนโลยี” เรื่อง ระบบสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ให้แก่ประชาชนผู้สนใจ ในพื้นที่ ตำบลบ้านปวง อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน เมื่อวันที่ 17 – 18  มิถุนายน ๒๕๖๔ โดยมีผู้เข้าอบรมจำนวน 30 คน

ภาพข่าวกิจกรรม http://www.itech.lpru.ac.th/site/?p=2573

3) มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ร่วมกับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดย ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) ดำเนินโครงการวิจัย นาโนเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม ในปีงบประมาณ 2564 มีโครงการวิจัย 1) องค์ความรู้สู่ชุมชน : นวัตกรรมกรองน้ำด้วยนาโนเทคโนโลยีเพื่อการพึ่งตนเองของชุมชน บ้านสัก ต.บ้านเอื้อม อ.เมืองลำปาง จังหวัดลำปาง และ 2) องค์ความรู้สู่ชุมชน : การบริหารจัดการน้ำเพื่อส่งเสริมการพึ่งตนเองของชุมชนบ้านสัก ต.บ้านเอื้อม อ.เมือง จ.ลำปาง เพื่อการบริหารจัดการน้ำ ทั้งน้ำดื่ม น้ำใช้ และน้ำเพื่อการเกษตร แก้ปัญหาด้วยการประยุกต์ใช้สิ่งรอบตัว อาทิ ไส้กรองน้ำจากเซรามิค ของเหลือใช้ในชุมชน หรือเทคโนโลยีการตรวจวัดคุณภาพน้ำอย่างง่ายที่อาศัยพืชใกล้ตัวในท้องถิ่น

ภาพข่าวผลการดำเนินโครงการ

https://www.mhesi.go.th/index.php/news/7797-bcg-6.html

https://www.springnews.co.th/news/infographic/829332

 

  1. การบริการด้านพลังงานและนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพแก่ภาคอุตสาหกรรม

- คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มีแหล่งการให้บริการวิชาการแก่ชุมชนท้องถิ่น คือ ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ประกอบด้วย 3 โครงการ

1)  โครงการศูนย์ทดสอบวัสดุก่อสร้าง และบริการวิชาการ

2) โครงการศูนย์เครื่องมือวัดทางไฟฟ้าและระบบควบคุมทางอุตสาหกรรม

3) โครงการศูนย์วิจัยและพัฒนาพลังงานชุมชน

โดย ศูนย์ถ่ายทอดวิศวกรรมและเทคโนโลยี คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม จัดอบรมเชิงปฏิบัติการระบบสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์  เพื่อให้ความรู้และพัฒนาทักษะด้านระบบสูบน้ำพลังแสงอาทิตย์ สำหรับผู้ที่สนใจทั้งภายในและภายนอก สมัครเข้าร่วมอบรมได้ฟรี เพื่อนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพของตนเอง โดยมี การบรรยายในเรื่อง พื้นฐานระบบไฟฟ้าและวงจรไฟฟ้าพื้นฐานสายไฟ หลักการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์และระบบความปลอดภัย หลักการออกแบบระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ พร้อมทั้งนำเสนอตัวอย่างกรณีศึกษาระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์รูปแบบต่าง ๆ มีผู้เข้าร่วมอบรมเป็นผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมและประชาชนผู้สนใจ กว่า 40 คน ระหว่างวันที่ 25 – 26 มีนาคม 2564

ภาพกิจกรรมโครงการ

http://www.itech.lpru.ac.th/site/?p=1115

https://www.facebook.com/entelpru/

  1. การให้ความช่วยเหลือสำหรับผู้ประกอบการมือใหม่ และสนับสนุนเศรษฐกิจหรือเทคโนโลยีคาร์บอนต่ำ

- คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มีการดำเนินโครงการวิจัยและบริการวิชาการ แผนงานวิจัย การยกระดับอุตสาหกรรมเซรามิกขนาดเล็ก จังหวัดลำปาง สู่อัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์ลำปางนครหัตถศิลป์ถิ่นอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ มีโครงการวิจัยย่อย คือ การยกระดับกระบวนการผลิตเซรามิกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและการเพิ่มศักยภาพเตาเผาของอุตสาหกรรมเซรามิกขนาดเล็ก จังหวัดลำปาง (ปีงบประมาณ 2564)

 

คำสั่งแต่งตั้ง

รูปภาพ15
รูปภาพ17
รูปภาพ16
รูปภาพ18

การรณรงค์ประชาสัมพันธ์ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม

โดยการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์เผยแพร่ผ่านช่องทางต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย

- Website มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

www.lpru.ac.th

- Facebook Fanpage งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

https://www.facebook.com/prlpru2015

- การจัดทำสารข่าว LPRU News ข่าวประจำสัปดาห์ทุกวันอังคารและวันศุกร์ ผ่าน Website มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง Facebook Fanpage งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง Facebook กลุ่มต่างๆ และ Line Application กลุ่มต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย

- การจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ ติดประกาศภายในบริเวณมหาวิทยาลัย

รูปภาพ20
รูปภาพ22
รูปภาพ24
รูปภาพ26
รูปภาพ21
รูปภาพ23
รูปภาพ25
รูปภาพ27
รูปภาพ28
Scroll to Top