โครงการ/กิจกรรมของมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
เพื่อสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน
ประจำปี 2564
โครงการลำปางแก้จน
โครงการพัฒนาระบบสนับสนุนการทำงานเชิงพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนแบบ
เบ็ดเสร็จและแม่นยำ พื้นที่จังหวัดลำปาง (โครงการแก้จน จ.ลำปาง)
The Development of the area based approach supportive system to
solve poverty completely and accurately in Lampang Province
โครงการวิจัย การพัฒนาระบบสนับสนุนการทำงานเชิงพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนแบบ
เบ็ดเสร็จและแม่นยำ พื้นที่จังหวัดลำปาง นี้ อยู่ภายใต้แพลตฟอร์มที่ 4 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการ
พัฒนาพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ โปรแกรมที่ 14 ขจัดความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ โดย หน่วยบริหารและ
จัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.)
มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1) ค้นหา สอบทาน และสำรวจทุนคนจน และครัวเรือนระดับพื้นที่
2) การนำเข้า การสังเคราะห์ ประมวลผล แสดงผล และการส่งต่อข้อมูล
3) สร้างระบบ กลไกการส่งต่อความช่วยเหลือในพื้นที่
4) ออกแบบโครงการช่วยเหลือคนจนอย่างตรงเป้าด้วยองค์ความรู้ และนวัตกรรม
โดยมีเป้าหมายเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำบนฐานข้อมูลที่ถูกต้องและแม่นยำอันเป็นการลดความเหลื่อมล้ำ กระจายความเจริญ และสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจ สังคมท้องถิ่น ด้วยความรู้ และนวัตกรรม ผ่านโครงการวิจัยและการขับเคลื่อนผลงานวิจัยเพื่อการใช้ประโยชน์อย่างมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2565 ได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน จังหวัดลำปาง ระหว่างหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) กระทรวง อว. มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง พร้อมด้วยหน่วยงานองค์กร ทั้งภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ ภาคการศึกษาภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ในพื้นที่จังหวัดลำปาง รวม 23 หน่วยงาน เพื่อบูรณาการความร่วมมือในการช่วยเหลือประชาชนกลุ่มเปราะบาง และคนจนกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่จังหวัดลำปาง ให้ครอบคลุมทุกมิติแบบองค์รวม สนับสนุนให้มีการเก็บฐานข้อมูลกลุ่มเปราะบางรายครัวเรือน และคนจนกลุ่มเป้าหมายระดับจังหวัดลำปาง รวมถึงสนับสนุนให้ประชาชนกลุ่มเปราะบาง และคนจนกลุ่มเป้าหมายสามารถเข้าถึงสิทธิและสวัสดิการรวมทั้งพัฒนาคุณภาพชีวิตให้มีความสุข สามารถพึ่งพาตนเองได้ โดยจะมีการดำเนินงานร่วมกันในการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ เป็นระยะเวลา 5 ปี นับแต่ที่ได้มีการลงนาม ซึ่งจะเริ่มดำเนินการในพื้นที่นำร่อง 5 อำเภอ ประกอบด้วย อำเภอเมืองลำปาง เถิน แม่ทะ งาว และเมืองปาน
- ข่าวประชาสัมพันธ์กิจกรรมโครงการ
ผลดำเนินงานโครงการโดยสรุป ในปีงบประมาณ 2564
ผลการดำเนินงานตามภาระงานหลักๆ 4 หัวข้อมีดังนี้
1) ด้านค้นหาและสอบทานข้อมูลคนจน ในพื้นที่ 6 อำเภอในจังหวัดลำปาง ประกอบด้วยอำเภอเมืองลำปาง อำเภอเถิน อำเภอห้างฉัตร อำเภองาว อำเภอเมืองปาน และอำเภอแม่เมาะ
2) การส่งต่อข้อมูลครัวเรือนยากจนจากระบบฐานข้อมูลไปสู่กลไกความร่วมมือแก้ไขปัญหาความยากจน ได้ดำเนินการนำเสนอผลการดำเนินงานในเวทีการประชุมศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยังยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจังหวัดลำปาง (ศจพ.จ) ที่มีองค์ประกอบของตัวแทนองค์กรภาคส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้องกับคนทุกช่วงวัย นอกจากนี้ ยังดำเนินการให้มีประกาศจังหวัดลำปางเรื่องการแต่งตั้ง คณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการ การพัฒนาระบบสนับสนุนการทำงานเชิงพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ พื้นที่จังหวัดลำปาง กรรมการชุดดังกล่าวนี้เป็นตัวแทนองค์กรที่เข้าร่วมทำบันทึกข้อตกลง MOU กับมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง เกือบทั้งหมดเป็นผู้นำนโยบายสู่การปฏิบัติ
3) ระบบส่งต่อความช่วยเหลือและติดตามที่มีประสิทธิภาพ อย่างน้อย 3 ระบบ/ด้านความช่วยเหลือ ผ่านกลไกดังนี้ ระบบการส่งต่อฯในระยะเร่งด่วน โดย ตัวนักวิจัย ด้วยการบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ภาคเอกชน เป็นต้น ระบบการส่งต่อฯ ในระยะกลางและระยะยาว ผ่านกลไก 3 ระดับ ระดับจังหวัดผ่านหน่วยงานที่ร่วมบันทึกความร่วมมือ (23 หน่วยงาน) คือ คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการฯ โดยผู้ว่าราชการจังหวัดลำปางเป็นที่ปรึกษา คณะกรรมการชุดดังกล่าวนี้ ทำหน้าที่ติดตาม และร่วมพิจารณา ออกแบบการช่วยเหลือ“คนจนกลุ่มเป้าหมาย” กลไกระดับอำเภอ ผ่านเวทีระดับอำเภอ ที่มีเครือข่ายภาครัฐ เอกชน ภาคประชาสังคมในพื้นที่ร่วมกำหนดแนวทางการส่งต่อ และกลไกระดับพื้นที่ ผ่านเวทีสอบทานระดับตำบล โดยเชื่อมโยง และส่งต่อความช่วยเหลือกับหน่วยงานในพื้นที่ เช่น เทศบาล หรือ อบต.)
การส่งต่อความช่วยเหลือโดยการบูรณาการความช่วยเหลือ
เป็นการช่วยเหลือ “คนจนเป้าหมาย” โดยร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ
เอกชน และภาคประชาสังคม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการช่วยเหลือในลักษณะ “การให้ปลา” แทน “ การให้อุปกรณ์
หาปลา” เป็นความจำเป็น เนื่องจาก การแก้ไขความยากจน คงต้องเริ่มด้วยให้ “คนจนเป้าหมาย” มีกิน มีอยู่ดี
หรือ “อยู่ได้”ก่อน ไปสู่การ “อยู่ดี” และ“อยู่ได้อย่างยั่งยืน”ต่อไป ซึ่งอย่างน้อยการดำเนินงานครั้งนี้ ทำให้หน่วยงานต่างๆ ให้ความสำคัญ ตระหนักกับภารกิจที่เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาความยากจน ที่ไม่อาจดำเนินการได้โดยลำพังของหน่วยงานใด หน่วยงานหนึ่ง รวมถึงผู้นำ คนในชุมชน ให้หันมาดูแล “คนใกล้ตัว” มากขึ้น
ตัวอย่างของความช่วยเหลือ มีดังนี้
(*ขอสงวนชื่อบุคคล เพื่อรักษาข้อมูลส่วนบุคคลให้มีความปลอดภัย ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) พ.ศ. 2562)
1) การส่งต่อข้อมูล “คนจนเป้าหมาย” ในที่ประชุมของ คณะกรรมการศูนย์อำนวยการขจัดความ
ยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยังยืน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจังหวัดลำปาง (ศจพ.จ)
2) การส่งต่อข้อมูล “คนจนเป้าหมาย” ในที่ประชุมของคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการวิจัยการพัฒนาระบบสนับสนุนการทำงานเชิงพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ พื้นที่จังหวัดลำปาง เพื่อรับการช่วยเหลือตามศักยภาพ ภารกิจของหน่วยงาน ตามความจำเป็น
3) การส่งต่อข้อมูล “คนจนเป้าหมาย” ผ่านเวทีระดับอำเภอทั้ง 6 อำเภอประกอบด้วย อำเภอ
เมืองลำปาง อำเภอเถิน อำเภอเมืองปาน อำเภองาว อำเภอห้างฉัตร และอำเภอแม่เมาะ
4) การส่งต่อ และบูรณาการความช่วยเหลือผ่านกลไกอำเภอนำร่อง “โครงการบำบัดทุกข์ บำรุง
สุข” กระทรวงมหาดไทย
5) การบริจาคงบประมาณสำหรับโครงการกาชาดซ่อม-สร้างบ้านให้ผู้ยากไร้เทิดไท้พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวโดยสร้างบ้านให้แก่ “คนจนเป้าหมาย” พื้นที่ตำบลพิชัย อำเภอเมืองลำปาง จำนวน 1 ราย ซึ่งดำเนินการแล้วเสร็จ ทำการส่งมอบบ้าน เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2565 นี้ซึ่งตรงกับวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10
6) ส่งต่อความช่วยเหลือให้กับองค์การบริหารส่วนตำบลสบป้าด อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง โดยผ่านสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลสบป้าด เสนอรายชื่อ “คนจนเป้าหมาย” จำนวน 2 ราย เพื่อให้ที่ประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบลสบป้าดพิจารณาเสนอชื่อขอรับการซ่อมแซมบ้านที่อยู่อาศัย จากพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดลำปาง ซึ่งทางสภาฯมีมติเห็นชอบ
7) การส่งต่อความช่วยเหลือให้กับผู้ใหญ่บ้านวังตม ตำบลจางเหนือ จังหวัดลำปาง และผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการหมู่บ้าน ในการซ่อมแซมบ้านให้แก่ผู้สูงอายุซึ่งตาบอดทั้งสองข้างอาศัยกับลูกชายที่ไม่มีอาชีพ สภาพบ้านทรุดโทรม และอาจก่อเกิดอันตราย จำนวน 1 ราย โดยคณะนักวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางได้ร่วมบริจาคงบประมาณ ส่วนคณะกรรมการหมู่บ้านและผู้นำชุมชนในพื้นที่เป็นผู้ออกแรงในการสร้างบ้าน ซึ่งดำเนินการเรียบร้อยแล้ว และอีกหนึ่งราย คือ “คนจนเป้าหมาย” ที่อยู่ในเขตพื้นที่ตำบลวอแก้ว ทางคณะนักวิจัยร่วมกับ อบต.วอแก้ว และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวอแก้ว โดยบูรณาการกับสาขาวิชาการจัดการ รวมถึงการซ่อมแซมพื้นไม้บ้านให้กับ “คนจนเป้าหมาย”ในพื้นที่ห่างไกลในอำเภอ
เมืองปาน เป็นต้น
8) การส่งความช่วยเหลือด้านทุนการศึกษาผ่านกลไกของสโมสรโรตารี่ตำบลพระบาท จังหวัดลำปางมอบทุนการศึกษาให้ นักเรียนโรงเรียนเมืองมายวิทยา จำนวน 1 ราย ซึ่งอาศัยอยู่ที่ตำบลบ้านแลง อำเภอเมืองลำปาง เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำรงชีพจำนวน 5,000 บาทต่อเดือน จนกว่าจะเรียนจบปริญญาตรี
9) การส่งต่อความช่วยเหลือผ่านผู้ใหญ่บ้าน โดยนักวิจัยร่วมกันบริจาคถังน้ำเพื่อใช้สำหรับบริโภคและอุปโภคในพื้นที่บ้านแม่คำหล้า หมู่ที่ 13 ตำบลบ้านร้อง อำเภองาว จังหวัดลำปาง
10) การช่วยเหลือโดยการซ่อมแซมห้องน้ำ และบริจาคอุปกรณ์พยุงร่างกาย (ไม้เท้า 4 ขา) ถุงยัง
ชีพ และยาสามัญประจำบ้านให้แก่ผู้สูงอายุ 1 ราย ผู้ไม่มีนามสกุล มีแต่บัตรประจำตัวบุคคล
ที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน อาศัยอยู่ที่ ตำบลนาสัก อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ซึ่งเป็น
ชาวกัมพูชามาอยู่เมืองไทยตั้งแต่ยังเป็นสาว หลังค่อมมีปัญหาการเดิน นอกจากนี้ ยังมีการ
บริจาครถจักรยานยนต์ให้แก่ ประชาชน 1 ราย ที่อาศัยอยู่ลำพังในกระต๊อบในป่า ไม่มีบ้านเลขที่ ไม่มีห้องน้ำ บ้านท่าสี ตำบลบ้านดง อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ที่ต้องเดินเท้าออกมาเอาน้ำและอาหาร รวมถึงรับเบี้ยผู้สูงอายุในชุมชน
11) การช่วยเหลือโดยจัดทำและมอบถุงยังชีพ ประเภท ข้าวสาร ปลากระป๋อง อาหารแห้ง แก่ประชาชนในพื้นที่ เมื่อลงพื้นที่เพื่อเยี่ยมเยือน “คนจนเป้าหมาย” ที่ชี้เป้าโดยผู้นำชุมชน และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เป็นต้น
4) การออกแบบโมเดล/นวัตกรรมแก้จน ดำเนินการใน 3 อำเภอ (4 ตำบล) ประกอบด้วยพื้นที่ตำบลหัวเมือง อำเภอเมืองปาน ตำบลบ้านเสด็จ อำเภอเมืองลำปางและตำบลเมืองยาว ตำบลแม่สัน อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง การดำเนินงานปรากฏผลอย่างเป็นรูปธรรมทั้ง 3 พื้นที่ “คนจนเป้าหมาย” ได้สมัครใจเข้าร่วมกิจกรรม ที่สอดรับกับศักยภาพของตนเอง โดย กระบวนการมีส่วนร่วมของผู้นำในพื้นที่
ส่วนโครงการนำร่อง “โมเดลแก้จน”หรือ OM (Operating Model) ภายใต้โครงการวิจัยการพัฒนา
ระบบสนับสนุนการทำงานเชิงพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ พื้นที่จังหวัดลำปาง
ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโมเดล/รูปแบบการแก้ไขปัญหาความจากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำในพื้นที่
นำร่องในจังหวัดลำปาง ดังนั้น ผลผลิตที่เป็นมิติของรายได้ หรือก่อเกิดรายได้อาจจะไม่มีตัวเลขที่สูงนัก แต่อย่าง
น้อยทำให้เกิดการเรียนรู้ และได้รูปแบบหรือโมเดลการแก้ไขปัญหาความยากจนของคนจนเป้าหมายในบริบทที่
แตกต่างกันไป