โครงการ/กิจกรรมของมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

เพื่อสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน

ประจำปี 2564

มาตรการ/โครงการต่างๆ ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม

(University’s Measures/Projects towards Affordable & Clean Energy and Environment)

fff

มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง มีการกำหนดและประกาศนโยบายเกี่ยวกับการจัดหาพลังงานสะอาด การปฏิรูปพลังงานหรือจัดหาพลังงานที่มีประสิทธิภาพ มีการดำเนินโครงการบริหารจัดการเพื่อการประหยัดพลังงาน โดยมีการรณรงค์ทั้งด้านการประหยัดพลังงานทั้งไฟฟ้า เชื้อเพลิง และน้ำ การจัดหาเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงการส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาด การยกระดับ/ปรับปรุงการก่อสร้างที่ใช้พลังงานที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น

ในส่วนของมาตรการ/นโยบาย เกี่ยวกับการจัดการขยะ การจัดการกับของเสีย และการช่วยกันดูและรักษาสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยมีการออกประกาศ เรื่อง นโยบายฯ ด้านการลด และคัดแยกขยะมูลฝอยในหน่วยงานและนโยบาย “งดภาชนะโฟมบรรจุอาหาร และลด ละ เลิกการใช้ถุงพลาสติก ลดภัยสิ่งแวดล้อม” พร้อมทั้งมีการจัดกิจกรรมให้ความรู้ ร่วมลงมือดำเนินการ รณรงค์ ประชาสัมพันธ์ กระตุ้นให้นักเรียน นักศึกษา บุคลากรภายใน และประชาชนทั่วไป ให้ร่วมกันประหยัดพลังงาน อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ

การออกประกาศมาตรการ/นโยบาย ซึ่งมีผลบังคับใช้ อย่างต่อเนื่องและมีการทบทวนเป็นประจำ อาทิ

- มาตรการรักษาความปลอดภัยของสถานที่และทรัพย์สินและมาตรการลดใช้พลังงาน พ.ศ.2563 http://wianglagon.lpru.ac.th/president/15energy/pdf/630116%20save%20energy%202563.PDF

- มาตรการรักษาความปลอดภัยของสถานที่และทรัพย์สิน และมาตรการลดใช้พลังงาน พ.ศ.2565

http://wianglagon.lpru.ac.th/president/PDF/650105%20energy%20save.pdf

- ประกาศสำนักงานอธิการบดี เรื่อง นโยบายการประหยัด ประจำปีงบประมาณ 2564

(https://www.lpru.ac.th/abouts-57/64/announce_lpru-291064.pdf)

- ประกาศมหาวิทยาลัย เรื่อง นโยบายฯ ด้านการลด และคัดแยกขยะมูลฝอยในหน่วยงาน

และนโยบาย “งดภาชนะโฟมบรรจุอาหาร และลด ละ เลิกการใช้ถุงพลาสติก ลดภัยสิ่งแวดล้อม”

https://www.lpru.ac.th/abouts-57/63/newsscan_doc-281263.pdf

 

การยกระดับ/ปรับปรุงการก่อสร้างที่ใช้พลังงานที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น

(Upgrading building to Higher Energy Efficiency)

มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางมีการจัดตั้งคณะทำงานด้านการจัดการพลังงานเพื่อปฏิบัติการ กำกับ ดูแล บริหารจัดการการใช้พลังงานภายในมหาวิทยาลัยให้มีประสิทธิภาพ มีการแต่งตั้งคณะผู้ตรวจประเมินการจัดการพลังงาน มีการกำหนดเป้าหมายและแผนการอนุรักษ์พลังงาน มีการดำเนินโครงการที่สอดคล้องกับนโยบาย เช่น โครงการปรับปรุงระบบไฟฟ้าภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ประจำปีงบประมาณ 2564 เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐาน ให้เกิดความปลอดภัย และเพื่อลดการสิ้นเปลืองจากการใช้พลังงานไฟฟ้าจากระบบแสงสว่างและระบบปรับอากาศลง รวมทั้งมีการจัดทำรายงานการจัดการพลังงานเพื่อรายงานผลไปยังกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ทุกปี โดยมีการเผยแพร่ข้อมูลต่างๆ ในเว็ปไซด์โครงการอนุรักษ์พลังงานมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

- Website โครงการอนุรักษ์พลังงานมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

http://wianglagon.lpru.ac.th/president/15energy/index1.html

- รายงานการจัดการพลังงาน ประจำปี 2564

http://wianglagon.lpru.ac.th/president/15energy/pdf/650210%20energy2564.PDF

- คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการและรายงานผลการจัดการพลังงาน ปี พ.ศ. 2564

(http://wianglagon.lpru.ac.th/president/15energy/pdf/650210%20energy2564.PDF)

- โครงการปรับปรุงระบบไฟฟ้าภายในมหาวิทยาลัย ปีงบประมาณ 2564

https://www.lpru.ac.th/news_lpru/wp-content/uploads/2020/11/e-bidding2-64-271163-2.pdf

 

การลดปริมาณก๊าซคาร์บอนและการลดปริมาณการปล่อยพลังงาน

(Carbon Reduction and Emission Reduction Process)

มหาวิทยาลัยมีกระบวนการจัดการคาร์บอนและการลดปริมาณการปล่อยก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์โดยมีการประกาศมาตรการและการรณรงค์ เกี่ยวกับการลดการใช้พลังงาน ประหยัดเชื้อเพลิง การใช้รถไฟฟ้าในการเดินทางติดต่องานของหน่วยงานต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัย การลดการใช้ถุงพลาสติกและโฟม การคัดแยกขยะ และกิจกรรมปลูกต้นไม้ภายในมหาวิทยาลัย โดยมีการติดประกาศประชาสัมพันธ์ และเผยแพร่ภาพรณรงค์ในสื่อประชาสัมพันธ์ทั้งในพื้นที่และในรูปแบบออนไลน์ ที่นักเรียน นักศึกษา บุคลากรภายในและบุคคลภายนอกที่เข้ามาในมหาวิทยาลัยจะได้ยึดถือปฏิบัติร่วมกัน ทั้งนี้เพื่อเป็นการลดปริมาณคาร์บอนและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

xccv

- ประกาศสำนักงานอธิการบดี เรื่อง นโยบายการประหยัด ประจำปีงบประมาณ 2564

https://www.lpru.ac.th/abouts-57/64/announce_lpru-291064.pdf

- ประกาศมหาวิทยาลัย เรื่อง นโยบายฯ ด้านการลด และคัดแยกขยะมูลฝอยในหน่วยงาน

และนโยบาย “งดภาชนะโฟมบรรจุอาหาร และลด ละ เลิกการใช้ถุงพลาสติก ลดภัยสิ่งแวดล้อม”

https://www.lpru.ac.th/abouts-57/63/newsscan_doc-281263.pdf

- กิจกรรมการปลูกต้นไม้ภายในมหาวิทยาลัย

111
2222
3333
44444

http://www.pr.lpru.ac.th/index.php?modle=viewnews&id_view=1345

การวางแผนลดการเผาผลาญพลังงาน

(Plan to Reduce Energy Consumption)

มหาวิทยาลัย มีการกำหนดเป้าหมายและแผนการอนุรักษ์พลังงาน มีการดำเนินโครงการที่สอดคล้องกับนโยบาย เช่น โครงการปรับปรุงระบบไฟฟ้าภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ประจำปีงบประมาณ 2564 และมีการออกประกาศและเผยแพร่ รณรงค์ ตามนโยบายการประหยัด ประจำปีงบประมาณ 2564 การประหยัดพลังงานทั้งไฟฟ้า เชื้อเพลิง น้ำ และมาตรการด้านเทคโนโลยีดิจิทัลที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดการใช้พลังงานที่มีประสิทธิภาพและลดการใช้พลังงานโดยรวม

- ประกาศสำนักงานอธิการบดี เรื่อง นโยบายการประหยัด ประจำปีงบประมาณ 2564

https://www.lpru.ac.th/abouts-57/64/announce_lpru-291064.pdf

- รายงานผลการจัดการพลังงาน ปี พ.ศ. 2564

http://wianglagon.lpru.ac.th/president/15energy/pdf/650210%20energy2564.PDF

การตรวจสอบการสูญเสียด้านพลังงาน

(Energy Wastage Identification)

มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางมีการจัดตั้งคณะทำงานด้านการจัดการพลังงานเพื่อปฏิบัติการ กำกับ ดูแล บริหารจัดการการใช้พลังงานภายในมหาวิทยาลัยให้มีประสิทธิภาพ มีการแต่งตั้งคณะผู้ตรวจประเมินการจัดการพลังงาน มีการติดตั้งมิเตอร์วัดพลังงานทุกอาคาร เพื่อติดตามตรวจสอบ

เมื่อมีการดำเนินโครงการปรับปรุงเพื่อลดการใช้พลังงาน ก็มีการตรวจสอบผลการประหยัดหลังปรับปรุง แล้วนำผลที่ได้มาแก้ไขข้อบกพร่อง และมีการจัดทำรายงานการจัดการพลังงานเพื่อรายงานผลไปยังกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ทุกปี

- คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการและรายงานผลการจัดการพลังงาน ปี พ.ศ. 2564

http://wianglagon.lpru.ac.th/president/15energy/pdf/650210%20energy2564.PDF

 

นโยบายลดการพึ่งพาอุตสาหกรรมพลังงานที่ปลดปล่อยคาร์บอนสูง

(Divestment Policy)

มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางมีการดำเนินโครงการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนในหน่วยงานภาครัฐ – มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง โดยมีการใช้พลังงานทดแทนจากแสงอาทิตย์ โดยการติดตั้งระบบ Solar PV Rooftop ตามอาคารและโรงจอดรถยนต์ ขนาดกำลังผลิตรวม 302.08  kWdc แบบ On-grid ซึ่งเริ่มดำเนินการและใช้งานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 เป็นต้นมา รวมทั้งมีโครงการปรับปรุงระบบไฟฟ้า โดยเปลี่ยนมาใช้ระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ เช่น โครงการปรับปรุงอาคารและบริเวณโดยรอบหอประชุมใหญ่ มีงานติดตั้งระบบไฟถนน Solar Cell All in One บริเวณรอบอาคารหอประชุมใหญ่ เพื่อทดแทนการใช้ระบบไฟฟ้าแบบเดิม เป็นต้น

- ประกาศโครงการ

https://www.lpru.ac.th/news_lpru/?p=17674

https://www.lpru.ac.th/news_lpru/wp-content/uploads/2020/02/auditorium-270263-4.pdf

a1
a2
a3
a4
a5
a6

การดำเนินงานส่งเสริมสนับสนุนและช่วยเหลือชุมชน ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม

(Outreach Programmes on Energy and Environment)

มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง มีการดำเนินงานทั้งโครงการวิจัยเพื่อพัฒนา และโครงการบริการวิชาการ ซึ่งมีการบูรณาการกับการจัดการเรียนการสอนและการพัฒนานักศึกษาด้วย ในชุมชนต่างๆ หลายโครงการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โครงการ U2T ซึ่งตลอดระยะเวลาโครงการในแต่ละชุมชน ได้มีการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมสนับสนุน หรือแก้ไขปัญหา เพื่อการอนุรักษ์พลังงาน และรักษาสิ่งแวดล้อมตามบริบทความต้องการและความจำเป็นของแต่ละชุมชนด้วย

 

u2t

- สรุปรายงานสรุปตัวชี้วัดและผลลัพธ์จากการดำเนินนงาน โครงการ U2T มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

http://www.plan.lpru.ac.th/u2tplan/main.php?p=1&id=32

- Facebook Fanpage ประชาสัมพันธ์ข่าวสารโครงการ U2T LPRU และ U2T LPRU for BCG

https://www.facebook.com/profile.php?id=100066578713207

 

โครงการบริการวิชาการและหลักสูตรฝึกอบรม

มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางมีการจัดโครงการบริการวิชาการและหลักสูตรการอบรม เพื่อให้ความช่วยเหลือ/ถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีด้านพลังงานแก่ชุมชนท้องถิ่น ในปี 2021  ได้แก่

  1. การอบรมเชิงปฏิบัติการระบบสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ โดยศูนย์ถ่ายทอดวิศวกรรมและเทคโนโลยี คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม  เพื่อให้ความรู้และพัฒนาทักษะด้านระบบสูบน้ำพลังแสงอาทิตย์ สำหรับผู้ที่สนใจทั้งภายในและภายนอก สมัครเข้าร่วมอบรมได้ฟรี เพื่อนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพของตนเอง โดยมีการบรรยายในเรื่อง พื้นฐานระบบไฟฟ้าและวงจรไฟฟ้าพื้นฐานสายไฟ หลักการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์และระบบความปลอดภัย หลักการออกแบบระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ พร้อมทั้งนำเสนอตัวอย่างกรณีศึกษาระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์รูปแบบต่าง ๆ มีผู้เข้าร่วมอบรมกว่า 40 คน ระหว่างวันที่ 25 – 26 มีนาคม 2564

- ภาพกิจกรรม

http://www.itech.lpru.ac.th/site/?p=1115

  1. โครงการวิจัยและบริการวิชาการ เรื่อง การพัฒนาต้นแบบเทคโนโลยีการลดความชื้นผลผลิตทางการเกษตรและวัสดุชีวภาพมูลค่าสูงด้วยอากาศร้อนที่เหมาะสม โดยใช้แหล่งพลังงานความร้อนร่วม (The Development of a prototype for dehumidification technology for agricultural products and high-value biological materials with appropriate hot air by using combined heat sources.) โดยคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม และสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง จัดทำโครงการวิจัยนี้ โดยได้มีการจัดทำโรงอบแห้งแมคคาเดเมีย (Solar Drying House) ลดต้นทุน ด้วยพลังงานสะอาด ให้แก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านแม่แจ๋ม ต.แจ้ซ้อน อ.เมืองปาน จ.ลำปาง

- ข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินโครงการวิจัย

https://www.youtube.com/watch?v=xTlnUb6MXas

- การนำเสนอข้อมูลผลการดำเนินโครงการในรายการโทรทัศน์ รายการ “รู้ค่าพลังงาน” ทางช่อง 3 HD และ YouTube Channel รู้ค่าพลังงาน Watchdog

https://www.youtube.com/watch?v=ByUFLyRgucE

 

  1. การสนับสนุนการนำพลังงานหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่สู่ชุมชน

1) มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง มีการสนับสนุนชุมชนให้มีการนำพลังงานหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ในชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ก๊าซชีวภาพ ซึ่งเกษตรกรสามารถผลิตใช้เองได้จากของเสียที่เกิดขึ้นในครัวเรือนและฟาร์มปศุสัตว์ โดยคณาจารย์ร่วมเป็นวิทยากรบรรยายและจัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ รวมทั้งได้มีการสนับสนุนให้จัดตั้งศูนย์วิจัยชุมชนด้านก๊าซชีวภาพและพลังงานทดแทนขึ้น ณ บ้านทุ่งผา ต.วอแก้ว อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง ซึ่งจัดตั้งขึ้นด้วยการสนับสนุนโดยเครือข่ายวิจัยภูมิภาค : ภาคเหนือ ประจำปี 2564 เพื่อเป็นแหล่งศึกษา ค้นคว้า แลกเปลี่ยนเรียนรู้ของเกษตรกรผู้ใช้ก๊าซชีวภาพและผู้สนใจ โดยมีคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยเป็นคณะกรรมการประจำศูนย์ฯ ด้วย

2) คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ ภายใต้โครงการบริการวิชาการ
“โครงการส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพในการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ของคนในชุมชนด้วยเทคโนโลยี” เรื่อง ระบบสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ให้แก่ประชาชนผู้สนใจ ในพื้นที่ ตำบลบ้านปวง อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน เมื่อวันที่ 17 – 18  มิถุนายน ๒๕๖๔ โดยมีผู้เข้าอบรมจำนวน 30 คน

ภาพข่าวกิจกรรม http://www.itech.lpru.ac.th/site/?p=2573

3) มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ร่วมกับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดย ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) ดำเนินโครงการวิจัย นาโนเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม ในปีงบประมาณ 2564 มีโครงการวิจัย 1) องค์ความรู้สู่ชุมชน : นวัตกรรมกรองน้ำด้วยนาโนเทคโนโลยีเพื่อการพึ่งตนเองของชุมชน บ้านสัก ต.บ้านเอื้อม อ.เมืองลำปาง จังหวัดลำปาง และ 2) องค์ความรู้สู่ชุมชน : การบริหารจัดการน้ำเพื่อส่งเสริมการพึ่งตนเองของชุมชนบ้านสัก ต.บ้านเอื้อม อ.เมือง จ.ลำปาง เพื่อการบริหารจัดการน้ำ ทั้งน้ำดื่ม น้ำใช้ และน้ำเพื่อการเกษตร แก้ปัญหาด้วยการประยุกต์ใช้สิ่งรอบตัว อาทิ ไส้กรองน้ำจากเซรามิค ของเหลือใช้ในชุมชน หรือเทคโนโลยีการตรวจวัดคุณภาพน้ำอย่างง่ายที่อาศัยพืชใกล้ตัวในท้องถิ่น

ภาพข่าวผลการดำเนินโครงการ

https://www.mhesi.go.th/index.php/news/7797-bcg-6.html

https://www.springnews.co.th/news/infographic/829332

 

  1. การบริการด้านพลังงานและนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพแก่ภาคอุตสาหกรรม

- คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มีแหล่งการให้บริการวิชาการแก่ชุมชนท้องถิ่น คือ ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ประกอบด้วย 3 โครงการ

1)  โครงการศูนย์ทดสอบวัสดุก่อสร้าง และบริการวิชาการ

2) โครงการศูนย์เครื่องมือวัดทางไฟฟ้าและระบบควบคุมทางอุตสาหกรรม

3) โครงการศูนย์วิจัยและพัฒนาพลังงานชุมชน

โดย ศูนย์ถ่ายทอดวิศวกรรมและเทคโนโลยี คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม จัดอบรมเชิงปฏิบัติการระบบสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์  เพื่อให้ความรู้และพัฒนาทักษะด้านระบบสูบน้ำพลังแสงอาทิตย์ สำหรับผู้ที่สนใจทั้งภายในและภายนอก สมัครเข้าร่วมอบรมได้ฟรี เพื่อนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพของตนเอง โดยมี การบรรยายในเรื่อง พื้นฐานระบบไฟฟ้าและวงจรไฟฟ้าพื้นฐานสายไฟ หลักการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์และระบบความปลอดภัย หลักการออกแบบระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ พร้อมทั้งนำเสนอตัวอย่างกรณีศึกษาระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์รูปแบบต่าง ๆ มีผู้เข้าร่วมอบรมเป็นผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมและประชาชนผู้สนใจ กว่า 40 คน ระหว่างวันที่ 25 – 26 มีนาคม 2564

ภาพกิจกรรมโครงการ

http://www.itech.lpru.ac.th/site/?p=1115

https://www.facebook.com/entelpru/

  1. การให้ความช่วยเหลือสำหรับผู้ประกอบการมือใหม่ และสนับสนุนเศรษฐกิจหรือเทคโนโลยีคาร์บอนต่ำ

- คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มีการดำเนินโครงการวิจัยและบริการวิชาการ แผนงานวิจัย การยกระดับอุตสาหกรรมเซรามิกขนาดเล็ก จังหวัดลำปาง สู่อัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์ลำปางนครหัตถศิลป์ถิ่นอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ มีโครงการวิจัยย่อย คือ การยกระดับกระบวนการผลิตเซรามิกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและการเพิ่มศักยภาพเตาเผาของอุตสาหกรรมเซรามิกขนาดเล็ก จังหวัดลำปาง (ปีงบประมาณ 2564)

การรณรงค์ประชาสัมพันธ์ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม

โดยการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์เผยแพร่ผ่านช่องทางต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย

- Website มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

www.lpru.ac.th

- Facebook Fanpage งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

https://www.facebook.com/prlpru2015

- การจัดทำสารข่าว LPRU News ข่าวประจำสัปดาห์ทุกวันอังคารและวันศุกร์ ผ่าน Website มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง Facebook Fanpage งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง Facebook กลุ่มต่างๆ และ Line Application กลุ่มต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย

- การจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ ติดประกาศภายในบริเวณมหาวิทยาลัย

Scroll to Top